วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “แลกเปลี่ยนเรียนรู้: การนิเทศงานสหกิจศึกษา”


การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้: การนิเทศงานสหกิจศึกษา

วันพุธที่ 19 พฤษภาคม 2553

อาคารวิจัยและบริการวิชาการ


อธิการบดี( รศ. ดร. ไทย ทิพย์สุวรรณกุล) ทำพิธีเปิดและบรรยายพิเศษ แนวทางการนิเทศงานอย่างมีประสิทธิภาพ

การนิเทศสหกิจ เป็นการไปแนะนำ กระตุ้น ไม่ใช่การสั่งการโดยตรง ทำใน 3 ด้านคือ

1. ด้านวิชาการ เช่น ทำงานผิดถูกในเชิงวิชาชีพอย่างไร

2. ด้านกระบวนการทำงานในสถานประกอบการ เช่น วิธีการทำงานจริงซึ่งต่างจากการเรียน

3. ด้านการปฏิบัติตนกับเพื่อนร่วมงาน เช่นแนะนำการวางตัวในองค์กร

หลักการนิเทศ

- เคารพในความแตกต่างของบุคคล อย่าพยายามเปรียบเทียบ(ซึ่งเป็นการกระตุ้น แต่เป็นการกระตุ้นเชิงลบ)

- อย่าไปสอนในลักษณะการสั่งการ พยายามให้นักศึกษาคิดค้นวิธีการด้วยตนเอง

- กระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดแรงจูงใจในการทำงานสู่เป้าหมาย

- มองหาความสามารถพิเศษของนักศึกษา อาจารย์ควรเตรียมตัวศึกษานักศึกษาก่อนไป

- สร้างบรรยากาศความเป็นกันเองให้มากขึ้น

ฯลฯ

ในการไปสหกิจศึกษาเป็นสร้างความร่วมมือกับผู้ที่อยู่ในสถานประกอบการที่เป็นผู้นิเทศงานนักศึกษา

โดยคุณวุฒิทางสถานประกอบการจะให้ความเคารพในวิชาชีพอยู่แล้ว

สหกิจศึกษาเป็นโอกาสที่ทำให้เราได้รู้จริงในการทำงานในสถานประกอบการซึ่งสามารถสร้างความร่วมมือในการทำวิจัย

ใหเศึกษาแนวทางการนิเทศ 13 ข้อ

ผศ.ดร. ผดุงศักดิ์ สุขสอาด

บทบาทและหน้าที่ของอาจารย์นิเทศงานสหกิจ

การไปนิเทศสหกิจจริงๆแล้วนอกเหนือจากการไปเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์ในเบื้องต้น จะเป็นการลงในบริบทนามธรรม ดูพัฒนาการของนักศึกษาด้วย

แบ่งการดำเนินการเป็นช่วงเวลา ก่อนไป ระหว่างไป และหลังจากการนิเทศสหกิจ

ตัวอย่างที่อาจารย์กล่าวถึงได้แก่

1. การไปสหกิจ อาจารย์รู้จักนักศึกษาดีหรือไม่ ให้ทำความรู้จักก่อน เขาทำงานอะไร มีจุดที่ควรพัฒนาอย่างไรบ้าง มีการปรับตัวในองค์กรอย่างไร นักศึกษาไปทำงานตำแหน่งใด สอดคล้องกับสาขาที่นักศึกษาพึงทราบหรือไม่

2. หน่วยงานนั้นดำเนินการลักษณะใด มีสิ่งใดที่ควรศึกษาเพื่อการพูดคุย

3. ควรใช้เวลาในสถานประกอบการไม่ต่ำกว่าหนึ่งชั่วโมง

4. ผู้นิเทศงานควรมีจิตวิทยาพอสมควร ไม่ควรอ่านตามรายการในแฟ้มแล้วถาม ควรดูสภาพแวดล้อมประกอบ ดูพฤติกรรมเด็กด้วย

ฯลฯ

กิจกรรมต่อไปใรกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ นำโดยพี่นิรันดร์และทีมงาน จากนั้นอาจารย์วัลลา ( ผศ. ดร. วัลลา ตันตโยทัย คณบดีสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์)แนะนำกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

กิจกรรมในช่วงบ่ายเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เทคนิควิธีการนิเทศงานนิเทศงานสหกิจ ที่ใช้ได้ผลดี

กิจกรรมนี้มีอาจารย์เข้าร่วมประมาณสามสิบกว่าคนทั้งอาจารย์เก่าและใหม่


สิ่งที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้

1. ได้ทบทวนแนวทางในการนิเทศสหกิจ ซึ่งดีที่ได้มองทั้งในแง่มุมมองให้นิเทศโดยมองด้านวิชาการ ด้านกระบวนการทำงานในสถาน และด้านการปฏิบัติตนกับเพื่อนร่วมงาน และให้ดำเนินการในลักษณะช่วงเวลาตั้งแต่ก่อนไป ระหว่างไปและหลังการนิเทศ โดยให้คำนึงถึงพัฒนาการของนักศึกษาจากการปฏิบัตินิเทศสหกิจ

2. ได้พบอาจารย์ใหม่หลายคนที่เป็นนักศึกษาเก่าของที่นี่ รู้สึกดี

โปรแกรมสถาปนาองค์ความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ (คุยซายน์) ... น่าสนใจทีเดียว

วันนี้ (26 เมษายน 2553)มีคณาจารย์จากคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับ KuiSci ซึ่งเป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นการเชื่อมต่อฐานข้อมูลนักวิจัย

"โปรแกรมสถาปนาองค์ความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ (คุยซายน์)
เป็นซอฟต์แวร์เพื่อสังคมของนักวิจัยในสาขานักวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี โปรแกรมถูกใช้เพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกันในชุมชน ในลักษณะของการแลกเปลี่ยน ความรู้อย่างสร้างสรรค์ ทั้งนี้ จะอาศัยอินเทอร์เน็ตเป็นเวทีที่จะทำงานร่วมกัน ระหว่าง ผู้เสนองานที่เสนอปัญหาจากเข้าสู่ระบบเพื่อให้นักวิจัย หาคำตอบของ ปัญหาเหล่านั้น "

http://www.thaisocial.net

การทำงานของโปรแกรมมี flow ตั้งแต่ผู้เสนองานระบุว่ามีงานใด ผู้รับงานจะเสนอโครงการไปให้พิจารณา โครงการนั้นจะถูกส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน ผลการประเมินจะถูกแจังให้ทราบ ผู้ได้รับการอนุมัติโครงการจะได้รับการแจ้งกลับ ผู้รับงานจะทำโครงการวิจัยต่อไป เป็นการ match ผู้เสนองานและผู้รับงานที่ดีจะทำให้ข่าวคราวการวิจัยไปถึงผู้ที่สามารถทำงานวิจัยนั้นได้ทั่วถึง

สถานะทั้งหมดมีหลายสถานะ สามารถดูสถานะได้โดยการนำเมาส์ไปวางบน icon สถานะ

โดยภาพรวมเป็นระบบที่ใช้งานง่ายพอควรและน่าจะเป็นประโยชน์มากหากทุกที่ให้ความร่วมมือและเชื่อมต่อฐานข้อมูลของแต่ละสถาบัน แต่ทั้งนี้จะใช้ได้กับทุนภายใน เพราะทุนภายนอกเราไม่มีสิทธิ์อนุมัติ เพราะฉะนั้นระบบนี้อาจจะไม่ครอบคลุมทั้งหมด ยังคงต้องดูรายละเอียดต่อไป
งานนี้เป็นการทำงานของกลุ่มวิจัยปฏิบัติการสองแห่งของมหาวิทยาลัยบูรพา คือกลุ่มวิจัยสารสนเทศสาสตร์ และกลุ่มวิจัยระบบปฏิบัติการ