วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

รายงานการเยี่ยมชมห้องสมุดมหาวิทยาลัยฮ่องกง


รายงานการเยี่ยมชมห้องสมุดมหาวิทยาลัยฮ่องกง

วันที่ 8 มิถุนายน 2553


ข้อมูลทั่วไป


มหาวิทยาลัยฮ่องกงมีห้องสมุดหลัก และห้องสมุดเฉพาะเช่น ห้องสมุดแพทย์ ห้องสมุดดนตรี ในที่นี้เป็นข้อมูลของห้องสมุดกลาง ห้องสมุดกลางมหาวิทยาลัยฮ่องกงเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1912 เป็นอาคารเอกเทศขนาดใหญ่ 6 ชั้นแบ่งเป็นปีกตึกเก่า และตึกใหม่ มีที่นั่งประมาณ 1,600 ที่นั่ง โดยมีการปรับปรุงล่าสุดให้พื้นที่โถงชั้นล่างเป็น Knowledge Navigation Centre (KNC) ในลักษณะ One stop shop ให้บริการการใช้งานคอมพิวเตอร์ประมาณ 130 เครื่อง ใช้ระบบห้องสมุด INNOPAC ใช้ RFID ใช้เครือข่าย WiFi มี self check 5 เครื่อง มีการแบ่งโซนการให้บริการเป็นโซนสีเหลือง (อนุญาตให้มีเครื่องดื่ม แต่ไม่อนุญาตให้กินอาหาร หรือใช้เสียง) สีเขียว ( อนุญาตให้กินอาหารว่างได้) และสีแดง (อนุญาตเฉพาะน้ำ) ห้องสมุดเป็นห้องสมุดเก่าแก่ มีหนังสือมาก แต่มีการใช้งานอุปกรณ์เก่าและใหม่ผสมผสาน เช่นมีชั้นเก็บหนังสือที่ควบคุมการเลื่อนด้วยไฟฟ้า การปรับปรุงชั้นดาดฟ้าให้เป็นสวน การนำชิ้นงานศิลปะมาจัดแสดงในห้องสมุด ห้องสมุดนี้ไม่เปิดบริการแก่คนภายนอก




การให้บริการ

นอกเหนือจากการให้บริการของห้องสมุดตามปกติ รวมถึงการให้บริการสื่ออิเลคทรอนิคส์ ห้องไมโครฟิมล์ ไมโครฟิช ห้องสมุดหนังสือหายาก สิ่งอื่นที่น่าสนใจ ได้แก่

- บริการยืมหนังสือ นักศึกษาปริญญาตรียืมได้ 60 เล่มเป็นเวลา 60 วัน Postgraduate ยืมได้ 180 เล่มเป็นเวลา 120 วัน อาจารย์ยืมได้ 400 เล่มเป็นเวลา 6 เดือน ทั้งนี้หนังสือในห้องสมุดมีประมาณ 2.7 ล้านเล่ม

- บริการถ่ายเอกสาร และใช้เครื่องพิมพ์ การถ่ายเอกสารคิดค่าใช้บริการ 30 เซ็นต์ต่อหน้า นักศึกษาสามารถใช้บัตรเงินสด Octopus ได้

- Knowledge Navigation Centre เป็นที่ค้นคว้าด้วยคอมพิวเตอร์ นักศึกษาสามารถใช้งานเพื่อทำการบ้านหรือค้นข้อมูลได้ มีเครื่องสแกนเนอร์ เครื่องพิมพ์

- E-Learning Lab เป็นห้องประชุม ห้องอบรม มีโน้ตบุ๊กประจำห้อง 46 ที่นั่ง

- 24-Hour Group Study Area เป็นห้องที่นักศึกษาสามารถใช้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลได้ 24 ชั่วโมง สามารถนอนในบริเวณได้ มีตู้กดเครื่องดื่มและอาหารว่างให้บริการ

ตารางเปรียบเทียบระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยฮ่องกงและมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

มหาวิทยาลัยฮ่องกง

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Knowledge Navigation Centre (KNC) ในลักษณะ One stop shop ประมาณ 130 ที่นั่ง

Self Assessment room จำนวน 2 ห้อง ให้บริการในลักษณะเดียวกัน ประมาณ 80 ที่นั่ง

Self check 5 เครื่อง

Self check 2 เครื่อง เพิ่งให้ใช้บริการได้ช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม 2553

E-Learning Lab

ไม่มี e-learning lab เฉพาะ แต่ใช้ห้องSelf assessment และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของศูนย์คอมพิวเตอร์

บริการถ่ายเอกสาร และใช้เครื่องพิมพ์ โดยใช้บัตรเงินสด

กำลังอยู่ระหว่างการจัดหา คาดว่าจะใช้บริการได้ประมาณเดือนตุลาคม 2553 (ในกรณีให้บริการโดยไม่ใช้บัตรเติมเงิน มีบริการอยู่แล้ว)

24-Hour Group Study Area

ยังไม่มีการให้บริการ 24 ชั่วโมง (ภาคการศึกษาที่ผ่านมาเริ่มทดลองให้บริการถึงเที่ยงคืนในช่วงก่อนสอบ มีผลการตอบรับดี)

ข้อเสนอแนะ

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยฮ่องกงเป็นห้องสมุดเก่าแก่และมีขนาดใหญ่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์คงไม่สามารถให้บริการได้ในสเกลเดียวกัน แต่สามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในระดับเดียวกันได้ สิ่งที่สามารถดำเนินการต่อเช่น การใช้ RFID การให้บริการถ่าย/พิมพ์เอกสารด้วยตนเอง การปรับเวลาให้บริการ ในส่วนอื่นๆมีความเห็นว่ามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ดำเนินการอยู่แล้ว แต่ในสเกลที่เล็กกว่าเท่านั้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น