วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สิ่งที่อาจารย์ควรศึกษาเพื่อการเป็นอาจารย์ที่ดี

คิดมานานแล้วว่าเวลามีอาจารย์ใหม่เข้ามาในสำนักวิชา เขาควรจะรู้อะไรเพื่อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พิมพ์ไว้เป็นไฟล์ แล้วลืมหายเรื่อยเลย กะว่าจะเขียนแล้ววางไว้ที่นี่จะได้ไม่หาย

1. workload และการคำนวณภาระงาน
2. รวมบริการประสานภารกิจ
3 โครงสร้างการทำงานของสำนักวิชา คณบดี ผู้ประสานงานหลักสูตร
4. การติดต่อขอความช่วยเหลือในการจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอน คอมพิวเตอร์ การเดินทาง
5. แนะนำสถานที่ใน มวล. หน่วยงานที่สนับสนุน ศูนย์บรรณสารฯ ศูนย์คอมฯ
6. การทำงานกับศบศ. ขั้นตอนการเปิดรายวิชา ขออนุมัติเปิดสอน การสอน การตัดเกรด
7. สิทธิในการพัฒนาอาจารย์
8. ปัญหาของนักศึกษาปัจจุบัน กิจกรรมนักศึกษา ระบบกิจการนักศึกษา

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “บนเส้นทางผู้บริหารสำนักวิชา”


โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “บนเส้นทางผู้บริหารสำนักวิชา”
7 -8 กรกฏาคม 2553 ณ โรงแรมขนอมโกลเด้นบีช


7 กรกฏาคม 2553 11: 20 น.

อธิการบดีกล่าวเปิดการสัมมนา

ความเจริญก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยอยู่ที่สำนักวิชา ซึ่งถ้าลงระดับบุคคลจะหมายถึงอาจารย์ ในมหาวิทยาลัยจึงเน้นการบริหารวิชาการเป็นหลัก มี 3 เรื่องที่คาดหวัง

1. คณบดีเป็นผู้นำทางวิชาการ เป็นภาพลักษณ์ของสำนักวิชา บริหารหน่วยวิชาการจำเป็นต้องรู้เรื่องวิชาการ มีความโดดเด่นในสาขาของตัวเอง มีประสบการณ์ มีความตั้งใจเรียนรู้เพื่อปฏิบัติงาน


2. คณบดีเป็นผู้บริหารร่วมกับคณะกรรมการสำนักวิชา (ศูนย์ สถาบัน ผอ.มีอำนาจเกือบเบ็ดเสร็จ คณะกรรมการเป็นที่ปรึกษา ซึ่งต่างกับสำนักวิชา) บริหารในสองกลุ่มคือ
1) บริหารวิชาการ ได้แก่ การรับนักศึกษา หลักสูตร ประสิทธิภาพการเรียนการสอน กิจกรรมนักศึกษา การให้คำแนะนำกับนักศึกษา การวิจัย การให้บริการวิชาการแก่สังคมตามความสามารถ โดยทำสามอย่างคือ 1. วางแผน 2. กำกับงานให้เป็นตามแผน และ 3. สนับสนุน
2) บริหารงานธุรการ เป็นงานรอง มีสี่เรื่องคือ 1. ธุรการทั่วไป 2.บุคคล บริหารอาจารย์ให้ทำงานอย่างดีมีความสุขได้อย่างไร ( ปกติอาจารย์มหาวิทยาลัยจะสั่งไม่ได้) ระบบสั่งการใช้ไม่ได้ผล 3. การเงิน ให้กำกับสนับสนุนการใช้ คณบดีมีอำนาจในวงเงินจำนวนหนึ่ง 4. พัสดุ


3. คณบดีควรทำความเข้าใจในสามเรื่องใหญ่ คือ 1. หลักการในการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 2. รวมบริการประสานภารกิจ อย่าขีดวงเล่น ให้ช่วยกันสนับสนุน 3. บริบทและวัฒนธรรมองค์กร เช่นการทำงานแต่ก่อนงานจะไม่เห็นงานจนกว่าจะถึงเวลา วัฒนธรรมเถียงกันก่อนทำงาน เป็นต้น

สิ่งที่อยากเพิ่มเติมคือ อยากให้คณบดีแสวงหาคนรุ่นใหม่ที่จะทำหน้าที่แทนในอนาคต ดูอาจารย์ที่มีศักยภาพมาถ่ายทอดความรู้


อธิการบดีจะจัดให้มีการพบปะลักษณะนี้ให้มากขึ้น ให้ช่วยกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และขอขอบคุณหน่วยพัฒนาองค์กรที่จัดงานได้รวดเร็วตามความต้องการ และขอเปิดการประชุม

รองอธิการบดีฝ่ายวางแผน( ดร.กีรัตน์ สงวนไทร) ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดสัมมนา

รอบนี้เป็นรอบปัญหาที่จะมาเคลียร์กัน เริ่มจาก อ.วิจิตรจะมาให้แนว หลังจากนั้นอ.กีรัตน์จะทบทวนบริบทของวลัยลักษณ์ หลังจากนั้น 16 – 18 น. คือการยกประเด็นจากเวทีต่างๆมาคุยกัน เปิดใจกันว่าทำไมเรื่องนี้เป็นแบบนี้ ไม่ต้องมีลำดับการพูด จัดวงเป็นตัวยู วงในเป็นวงคณบดี วงนอกคือวงสนับสนุน แต่ไม่มีการตอบคำถามของฝ่ายสนับสนุนในรอบนี้

พรุ่งนี้จะเป็นการจัดหมวดหมู่ เช่นเป็นเรื่องการเรียนการสอน หรือการบริหาร หรือ การเงินพัสดุ เพื่อนำไปสู่ช่วงไขข้อข้องใจ ช่วงสุดท้ายจะอยู่หลังอาหารเที่ยง ใช้เวลาทั้งหมดประมาณหนึ่งวันครึ่ง

เอกสารที่ให้ประกอบจะมีข้อมูลที่น่าสนใจในเรื่องการบริหารงานของคณบดี ลักษณะงานของคณบดี หลักการสำหรับความเป็นคณบดีที่มีประสิทธิผล

13:10 น.
ศ. ดร. วิจิตร ศรีสอ้าน

วันนี้อาจารย์มาในฐานะผู้เคยทำงานที่นี่ตั้งแต่ยุคก่อตั้ง เป็นบทบาทของผู้ออกแบบ มวล.เป็น ม ใหม่ที่จัดตั้งโดยนำแผนไปทำให้ผู้อนุมัติเห็นชอบ ซึ่งต้องเป็นประโยชน์ต่อภาคใต้ ต่อประเทศไทย และต่อโลก

ม มีลักษณะเป็นพหุกิจคือมีกิจหลายอย่างที่ต้องทำ โดย พรบ. เรามีภารกิจ 4 ด้าน การสอนผลิตบัณฑิต การวิจัย บริการวิชาการแก่ชุมชน และทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

มวล. เป็นพหุกิจ องค์กรที่แบ่งจึงแบ่งตามภารกิจ เราจึงคิดถึงการจัดตั้งองค์กรเต็มรูป เป็นม แห่งที่สองของประเทศไทยที่มีแผนจัดตั้งสิบปี เมื่อต้องจัดองค์กรเต็มรูป ซึ่งอาจมองไม่เห็นในตอนแรก ทำไมต้องสร้างตึกทีละหลัง ในเมื่อเรามีแผนชัดเจนสำหรับสิบปี เราจึงได้งบจากรัฐบาลให้ค่าก่อสร้างประมาณ 2,400ล้านและมี commit 3 ปี ระบบของเราเอาการออกแบบวิชาการAcademic planningนำหน้าตามด้วย physical planning เช่น มวล.จะเป็น ม แบบไหน เราบอกว่าเป็น comprehensive univ
อะไรคือจุดเด่น เราจะทำเมืองมหาวิทยาลัย แปลว่าจะมีปฏิบัติการยี่สิบสี่ชั่วโมง เป็น residential เป็น ม ที่ไม่เคยหลับ จุดเด่นอีกอย่างคือ เป็น ม สมบูรณ์แบบ เป็นอุทยานการศึกษา (สุรนารีมีเทคโนธานี) เราทำแผนอุทยานการศึกษานำเนอรัฐบาลแล้วนำเสนอให้เป็นพระบรมราชานุสรณ์ในวโรกาส 50 ปีของในหลวง เรามีเอกสารการจัดตั้งอุทยานชัดเจน เหล่านี้คือ academic plan แล้วดำเนินการต่อว่าต้องจัดสร้างอะไรเท่าไร เช่น ตึกกี่หลัง รองรับนักศึกษาเท่าใด

เราต้องการสำนักวิชาที่ต่างออกไป สร้างอาคารสถานที่รองรับการทำงานเหล่านี้ เรียกว่า รวมบริการประสานภารกิจ ม ต้องมีสำนักอธิการบดี ซึ่งเป็นหน่วยนโยบาย ทำงานบริหารทั่วไป ไม่มีหน้าที่เปิดสอน หน่วยที่ทำหน้าที่นี้คือสำนักวิชา ทำไมเราไม่เรียกว่าคณะ เพราะกลัวว่าจะนำพฤติกรรมเดิมแบบคณะเข้ามา จะได้ไม่ซ้ำกับที่เดิม ให้ freedom กับเรา ถ้าเรียกคณะจะมีการไปยกจากคณะใน ม เก่าๆมา เราไม่มีหน้าที่สร้าง ม เก่าเหมือนของเดิม เราควรสร้างทางเลือกใหม่ ความงอกงามของประเทศไทยอยู่ตรงนี้ คณะเป็นส่วนย่อยของวัด ไม่แน่ใจว่าเหมาะสมกับ ม หรือไม่ ตำแหน่งอธิการบดี คณบดีก็เป็นตำแหน่งพระ

เมื่อเราเลือกใช้สำนักวิชาต้องดูว่า ทำอะไร สอน วิจัยเฉพาะสาขาไม่ข้ามไปวิจัยนอกสาขา

สถาบัน ภารกิจเรื่องวิจัยมีสองส่วน ส่วนที่เป็นการวิจัยสหวิทยาการ จะนำคณะไปบริหารสำนักอื่นไม่สะดวก จึงต้องมีสถาบันดูแล

งานส่งเสริมวิชาการอีกส่วนหนึ่งซึ่งเราไม่รู้จะเรียกว่าอะไร ก็เรียกว่าศูนย์ เป็นบริการพื้นฐานของการศึกษาส่วนหนึ่ง อีกส่วนเป็นบริการวิชาการ และทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ส่วนสำนักวิชาได้สำรวจแล้วมีสองแบบ แบบเบ็ดเสร็จ คือคณะทำภารกิจสี่ด้านทั้งหมด เป็นหน่วยรับจัดสรรเงินงบประมาณ งบอยู่ที่คณะ ต่างคนต่างมีอำนาจในการเบิกจ่าย คณะก็มีรายได้ คณะเอาเงินไปทำอะไรก็ได้ งบประมาณแผ่นดินก็ไปที่คณะยกเว้นส่วนที่ไปสำนักอธิการบดี มีทรัพยากร(อาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์) และบริการเป็นของตนเอง แบบนี้ก็ไม่มีอะไรเสียถ้าทุกคณะได้รับการสนับสนุนเท่าเทียมกัน แต่ความจริงไม่ใช่เช่นคณะที่มีโรงเรียนสาธิต มีโรงพยาบาลจะได้เยอะ คณบดีต้องแข่งขันกัน มีความเหลื่อมล้ำกันเพราะใช้เงินขอใครของมัน ปัญหามากๆคือเรื่องทรัพยากรบริการมีมากแล้วไม่ได้ใช้ ใช้ไม่คุ้มค่า บางบริการทำได้จำกัดเพราะบุคลากรไม่มี บางที่มีของแต่ไม่ได้ใช้ก็ไม่ให้คนอื่นใช้ แต่สิ่งที่ต้องการคือเราซื้อเท่าที่ใช้ ไม่มีเกินจนเหลือ
อีกแบบคือแบบรวมบริการประสานภารกิจ เราเอาภารกิจมาตั้งว่ามีสี่อย่าง สำนักวิชาทำสองอย่างที่สำคัญแล้วมีอะไรที่สามารถทำร่วมกัน เขาต้องการเครื่องมือก็จะต้องมีเครื่องมือให้ใช้ เพราะฉะนั้นสำนักวิชาต้องทำภารกิจด้านวิชาการเป็นหลัก ทำภารกิจบริหารทั่วไปเท่าที่จำเป็น

เราต้องดูกันว่าแค่ไหนคือความพอดีของความสะดวก เช่น ค่าสอนพิเศษ สำนักวิชารู้ดีควรให้เขาเบิกจ่ายได้เลย ไม่ต้องมาเบิกทีละเรื่อง เพราะฉะนั้น เรื่องคนเรื่องเงินแม้จะรวมบริการประสานภารกิจก็ยังมีความจำเป็นต้องมองอำนาจบริหารให้ แต่ไม่มีกฎตายตัว แต่ต้องรักษาหลักการ

สิบปีแรกมวล.ใช้ศูนย์เป็นตัวรวมลักษณะรวมบริการประสานภารกิจ ปรากฏว่าเป็นที่ชื่นชมของสตง. หน่วยงานภายนอก ที่อื่นๆควรทำแต่ทำไม่ได้เพราะเป็นแบบเบ็ดเสร็จนานมาแล้ว ปัจจุบันจะมีห้องเรียนรวม ห้องประชุมรวมแต่โครงสร้างพื้นฐานยังเป็นแบบเดิมจึงยังทำไม่ได้เต็มที่
ทำแบบนี้เพื่อประสิทธิภาพ เพื่อทำให้การทำงานของเรามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อความสะดวก ถ้าทำแล้วไม่สะดวก อย่ามี

สิ่งที่ทิ้งไม่ได้คือการประสานภารกิจ หน่วยกลางต้องทำหน้าที่ประสานให้ไปสู่เป้าหมายเดียวกัน

ผู้บริหารสำนักวิชา มีฐานะเป็นนักบริการวิชาการ Academic administrator (ในต่างประเทศแบ่งเป็นสามกลุ่มคือ 1. academic administration อธิการ รอง หัวหน้าศูนย์ 2. Academic คณาจารย์ นักวิจัย 3. Non-academic ไม่ได้เป็นนักวิชาการ เราเรียกว่าเป็นหน่วยส่งเสริม) ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของอธิการบดี (สภาจะทำงานในฐานะคณะบุคคล ต้องมีมติจึงจะให้ทำได้) กฎหมายระบุอีกว่าอธิการบดีมีอำนาจต่อไปนี้...) ถัดจากอธิการบดีคือผู้อำนวยการสำนักคือรองอธิการบดี

ต้องตีบทให้แตกว่าการบริหารวิชาการเป็นอย่างไร จะดึงมาบริหารเท่าไรจะต้องขึ้นกับอธิการบดี ซึ่งจะ share authority บางส่วนให้ จึงได้กำหนดว่าคนที่จะเป็นผู้บริหารสำนักวิชาจะต้องมีประสบการณ์ด้านวิชาการมาไม่ต่ำกว่าสามปี สิ่งสำคัญจึงต้องเรียนจากประสบการณ์ด้านสอนก็ได้ ด้านบริหารก็ได้ ผู้บริหารสำนักวิชาเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัย เพราะมีฐานะเป็นหัวหน้าหน่วยระดับหนึ่ง ในงานที่กี่ยวข้องมักต้องมีการตัดสินเกี่ยวกับวิชาการเสมอ

Career ของผู้บริหาร ต่างประเทศสามารถเลือกคนนอกได้ เมืองไทยเกือบร้อยเปอร์เซนต์ อธิการบดีจะคัดสรรจากรองอธิหารบดี หรือคณบดี ยิ่งบริหารสูงขึ้นไปเท่าไรจะเกี่ยวข้องกับการบริหารทั่วไปมากขึ้นเท่านั้น ต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องคน เรื่องเงิน

มวล.มีการจัดสายงานเป็นบริหารวิชาการ คณาจารย์และส่งเสริม
งานของสำนักวิชาประกอบด้วยงานวิชาการ(การสอนการวิจัย) และงานบริหารทั่วไป ๖งบประมาณ การเงิน และการบริหารบุคคล)

ในที่นี้เป็นการบอกว่าออกแบบอย่างไร ไม่ได้บอกว่าแบบนี้จะดีกว่า เพราะการออกแบบเดิมเป็นการออกแบบเพื่อแก้ปัญหาลักษณะหนึ่ง ถ้าทำแล้วไม่ดีก็ต้องมาพูดกันและปรับแต่งให้ดี คงไม่ถึงกับโยนทิ้งทั้งหมด ผู้บริหารแต่ละยุคต้องปรับแต่ง

ช่วงบ่ายเป็นการให้ข้อมูลจากแต่ละสำนักวิชาว่ามีปัญหาในการบริหารจัดการอย่างไร คณบดีแต่ละสำนักวิชาเสนอปัญหาจากมุมมองของสำนักวิชาเช่น การพัฒนาบุคลากร และการทำ Infrastructure การจัดสรรรายได้คืนมาให้สำนักวิชา ควรมีกองทุนการพัฒนาอาจารย์ในสำนักวิชา การอนุมัติให้เปิดหลักสูตร ควรมี Infrastructure ตามมาตามกำหนดที่ต้องใช้ การรับรองปริญญาของสถาปัตยกรรมศาสตร์ อยากได้ Input ที่ดีมีพื้นฐาน การบริหารงบของสำนักวิชา 300,000 บาทไม่จำเป็นต้องเท่ากัน การบริหารโครงสร้างในหลักสูตรมีความจำเป็นไม่เท่ากัน การทำ SAR สัดส่วนการจบปริญญาโท/เอก มีค่าต่ำกว่าที่ควร เห็นด้วยกับอ.สุวัจนาเรื่องกองทุนสำนักวิชา สุขภาพ การสนับสนุนการเรียนการสอน เช่นปัญหาในการใช้ห้องที่แอร์เสีย คุณภาพนักศึกษาที่เข้าเรียนด้อยลง เริ่มมีปัญหา ประเด็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยให้มี active learning สำนักวิชาทำ PBL มีคณาจารย์ไม่เพียงพอ
โครงสร้างสำนักวิชา ความโดดเด่นของสาขาวิชาชีพ การมีโอกาสเข้าเป็นกรรมการในการพัฒนาสำนักวิชา ทุนการศึกษาของอาจารย์ มหาวิทยาลัยควรมีกองทุนในการพัฒนาอาจารย์

ภาพรวมจะเห็นปัญหาที่แต่ละสำนักวิชามีร่วมกัน

8 กรกฏาคม 2553

ช่วงเช้าเป็นการสรุปปัญหาของแต่ละสำนักวิชา คณบดีทุกสำนักวิชาให้ข้อมูลและรายละเอียด

โดยเริ่มประเด็นในเรื่องโครงสร้างการบริหารสำนักวิชา มีหลากหลายปัญหา เช่น การทำงานร่วมกันระหว่างอาจารย์และเจ้าหน้าที่ พื้นที่การทำงาน อัตรากำลัง อุปกรณ์ใช้งาน หัวข้อ
รองอธิการบดีฝ่ายวางแผน ให้ข้อสรุปว่า

1. เสนอว่าทางออกคือ จะมีผู้บริหารวิชาการระดับรองจากคณบดี หรือหัวหน้าสาขาแต่จะเรียกแบบไหนค่อยคุยกัน สำนักละกี่คนก็เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาต่อไป

2. การบริหารงานทั่วไป หรือการบริหารงานสำนัก ควร reengineering ในเชิงโครงสร้างในเรื่อง 1. กำลังคน 2.ศักยภาพ เช่น การร่างหนังสือ 3. ความชัดเจนในกระบวนการทำงานในสำนักวิชาว่าใครทำอะไร 4.ที่ตั้งเชิงกายภาพไม่ใช่ประเด็น ไม่มีข้อจำกัด แล้วแต่สำนักวิชา