วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การประชุมชี้แจงการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2553

การประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ

ห้องประชุม 1 อาคารวิจัย

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2553 9:00 - 12:00 น.

9:25 น. ผศ.ดร. เกียรติกำจร กุศล บรรยาย

เหตุที่ต้องประกันคุณภาพเนื่องจากมี พรบ. การศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. /2545 (ดูมาตรา47,48,49,50,และ 51 ) แผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2565) และกฎกระทรวงเน้น QA หลายมาตรา

การประกันคุณภาพภายนอก เน้น output/outcome

การประกันคุณภาพภายใน เน้น process


พรบ.บอกอะไรเราบ้าง

1. บอกว่าประกอบด้วยระบบใด พรบ. การศึกษาแห่งชาติจะบอกว่าระบบ QAประกอบด้วยQAภายในและภายนอก (ม. 47)

2. บอกว่าให้ใครทำ ทำอย่างไร (ม. 48)

3. บอกว่าใครจะมาประเมินและสถานศึกษาต้องทำอย่างไรในการประเมินนั้น (ม. 49และ 50)

4. บอกว่าถ้าประเมินไม่ผ่านจะทำอย่างไร (ม. 51)


อาจารย์เกียรติกำจรให้ภาพรวมเรื่องหลักการในการพัฒนาตัวบ่งชี้ประกันคุณภาพ สกอ. ทั้ง 9 องค์ประกอบ ซึ่งจะประเมินปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิตและผลลัพธ์ โดยมีความสมดุลระหว่างมุมมองการบริหารจัดการทั้ง 4 ด้านคือ ด้านนักศึกษาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านกระบวนการภายใน ด้านการเงิน และด้านบุคลากร การเรียนรู้และนวัตกรรม โดยกระบวนการประเมินมี 4 ขั้นตอนตามระบบพัฒนาคุณภาพ PDCA และในปีะนี้จะต้องทำการประเมินลงถึงระดับหลักสูตร โดยใช้ระบบ CHE Online

ปีนี้ประเมินองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ 9 องค์ประกอบ 25 ตัวบ่งชี้

จากนั้น รศ.ดร. มนตรี อิสรไกรศีล บรรยายต่อ โดยอาจารย์ลงรายละเอียดแต่ละตัวบ่งชี้ว่าเมื่อถูกประเมินจะประเมินจากสิ่งใด ในส่วนนี้ความเห็นส่วนตัวเห็นว่าแต่ละหน่วยงานทราบว่าควรจะใส่ข้อมูลใด แต่มักจะไม่ได้เก็บข้อมูลนั้นไว้ครบถ้วนล่วงหน้า จึงไม่มีหรือไม่ได้ใส่ทุกอย่างที่ทำ

สามารถดูรายละเอียดคู่มือทั้งหมดได้จากเว็บ สกอ. http://www.mua.go.th/users/bhes/front_home/IQA-on%20web/IQA%20Manual%202010%20(November2010)121153.pdf

และมหาวิทยาลัยจัดทำเอกสารสำหรับการประเมินทั้งของ สกอ. สมศ. และ มวล.

ข้อมูลที่ได้รับการยืนยันในที่ประชุมจากการชี้แจงและการถามตอบ

1. อาจารย์ธีรยุทธ ชี้แจงให้ทุกหน่วยงานส่งข้อมูลให้เร็วเพราะปีที่แล้วเราช้าไป

2. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เสนอตัวเองอยู่ในกลุ่ม ค .2 ( กลุ่ม ค สถาบันเฉพาะทาง หมายความถึง สถาบันที่เน้นการผลิตบัณฑิตเฉพาะทางหรือเฉพาะกลุ่มสาขาวิชา ทั้งสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ สังคมศาสตร์หรือมนุษยศาสตร์ รวมทั้งสาขาวิชาชีพเฉพาะทาง สถาบันอาจเน้นการทำวิทยานิพนธ์หรือการวิจัย หรือเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะในการประกอบอาชีพระดับสูง หรือเน้นทั้งสองด้าน รวมทั้งสถาบันอาจมีบทบาทในการพัฒนาภาคการผลิตจริงทั้งอุตสาหกรรมและบริการ สถาบันในกลุ่มนี้อาจจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะคือ ลักษณะที่ 1 เป็นสถาบันที่เน้นระดับบัณฑิตศึกษา และลักษณะที่ 2 เป็นสถาบันที่เน้นระดับปริญญาตรี)

3. การจัดทำ SAR ลงถึงระดับหลักสูตร

4. อ.ธรรมศักดิ์: ผู้ประเมินไม่รู้จักมหาวิทยาลัย ส่วนกลางต้องทำความเข้าใจกับเขา ฐานข้อมูลกลางต้องมีชัดเจน เราไม่ควรต้องดูรายละเอียดเล็กๆมากนัก เช่น การติดต่อกับศิษย์เก่า ศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จ เรามีส่วนนี้น้อย ส่วนกลางต้องช่วยมากกว่านี้ อย่าถามทุกอย่างจากสำนักวิชา

5. อ.ชลธิรา: เสริมจาก อ.ธรรมศักดิ์ และห่วงใย สกอ. 2.8 การเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้นักศึกษา สกอ.มีแนวปฏิบัติชัดเจนในข้ออื่นยกเว้นข้อนี้ (อ.เกียรติกำจร ชี้แจงว่า เพราะเป็น output ไม่ใช่กระบวนการ)จากเงื่อนไข เกณฑ์ที่มี เราไม่น่าจะทำได้ สายสังคมศาสตร์หนักใจที่จะตอบโจทย์นี้

6. อ.ทิพย์วัลย์: มุมมองผู้ปฏิบัติ เราเหลือเวลาแค่เทอม3 ข้อมูล empirical ไม่มีปัญหา มองต่างจากคณบดีทั้งสองท่าน คือเห็นว่า ความเข้มแข็งอยู่ที่สำนัก สำนักอาจไม่ค่อยตระหนักจึงไปก๊อปของส่วนกลาง สำนักควรมีแผนของสำนัก ส่วนเรื่องคุณธรรมจริยธรรมเป็นเรื่องใหญ่ ส่วนกิจการน.ศ. จัดประชุมดูตัวเลขแยกได้รายสำนัก(ส่วนส่งเสริมให้ข้อมูลว่าประชุมแล้ว) อยากเห็นว่าหลักสูตรทำอะไรบ้าง จะทำรวมบริการประสานภารกิจจะฟิตได้ไม่ทั้งหมด เฉพาะบางเรื่องส่วนกิจอาจให้งบที่สำนักไปดูแลเองก็ได้เพราะนักศึกษาแต่ละหลักสูตรมีความต้องการและความเหมาะสมในการดำเนินการต่างกัน)

อ.สุวัจนา : เห็นด้วยกับ อ.ทิพย์วัลย์ มองว่าสำนักต้องใส่ใจในโครงการต่างๆที่ทำ บางเรื่องมองว่ายุ่งยากเพราะไม่รู้ว่าเขาประเมินอย่างไร เช่น การนัดพบศิษย์เก่าและขอข้อเสนอแนะจากศิษย์เก่า ซึ่งเราทำอยู่ ถ้าเราทำเพิ่มอีกเล็กน้อยคือทำเป็นโครงการ ก็จะได้ข้อมูลครบถ้วน บางเรื่องเราอาจทำไม่ได้เพราะผลของมันอาจไม่เกิดขึ้นในปีนั้น มหาวิทยาลัยควรชัดเจนว่างานใดที่ส่วนกลางทำ งานใดสำนักทำ

อ.ธรรมศักดิ์: ชี้แจงให้ชัดเจน เห็นว่างานทั้งหมดเป็นงานของสำนักวิชา แต่การนำเสนอควรต้องเป็นภาพรวม

คุณอวยพร ส่วนส่งเสริม แจ้งว่าวัตถุประสงค์การประชุมวันนี้เพื่อ ให้ทุกคนทราบกลไกในภาพรวม ในการประสานงาน ส่วนกลางควรเป็นตัวเชื่อมโยง ก็ได้ทำการดูข้อมูลร่วมกันกับส่วนกิจ และศิลปวัฒนธรรม จะเป็นข้อมูลกลาง ด้านการวิจัย บริการวิชาการก็จะทำเช่นเดียวกัน สำนักวิชาจะทำโดยไม่รอ template ก็ทำได้ล่วงหน้า

ส่วนรูปข้างล่างนี้ เจ้าสำนักดิฉันเอง บ่งบอกว่าสำนักเราให้ความสนใจเรื่องประกันคุณภาพเป็นอย่างยิ่ง ลูกสำนักก็พลอยใส่ใจกันเข้มข้นไปด้วย


ส่วนนี่ก็อาจารย์สาวสวยจากศิลปศาสตร์ ผู้ทำหน้าตั้งอกตั้งใจฟังรายละเอียดการบรรยาย


วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Online Information & Education Conference 2010

11 พฤศจิกายน 2553

วันนี้ได้เข้าฟังการประชุมวิชาการระดับชาติ Online Information & Education Conference 2010 จัดสองวัน 11-12 พฤศจิกายน 2553 ที่ห้องประชุมรักตกนิษฐ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนดุสิต จัดโดย Book Pro มีผู้เข้าร่วมประมาณ 600 คนปีนี้เน้นการพัฒนาเทคโนโลยี และการจัดการความรู้ ซึ่งต่างจากปีก่อนๆที่เป็น Content based.

ดร. สุเมธ แย้มนุ่น เป็นประธานเปิดงานและบรรยาย ได้มีคำถามที่น่าสนใจได้แก่

- What makes a University great?

- How are the top universities measured now?

สิ่งที่เน้นคือในเรื่องของ Research output และบทบาทของห้องสมุดในการสนับสนุนการวิจัยได้แก่

1. Supporting research เตรียม content ให้นักวิจัยได้ใช้ ให้ research methodology, research management tool ที่ง่ายกับอาจารย์

2. Facilitate research เช่นให้ข้อมูลในการ publish research paper การทำ archive

3. Commercializing the research

รศ.ดร. สุขุม เฉลยทรัพย์ ได้ตั้งคำถามว่า ห้องสมุดที่เป็นมากกว่าห้องสมุดเป็นอย่างไร โดยเปรียบเทียบข้อมูลในกลุ่มประเทศ ASEAN และชี้ให้เห็นว่าเราสามารถได้ข้อมูลเพื่อนำมาพัฒนาห้องสมุดโดยการทำโพล

Dr. John Barrie /Turnitin ได้มาชี้ประเด็นเรื่องการลอกผลงานทางวิชาการทั้งในระดับนักศึกษาและนักวิชาการ โดยให้เห็นเครื่องมือที่สามารถจับการซ้ำของข้อมูลได้

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ตลาดนัดความรู้: การนิเทศงานสหกิจ เครือข่ายสหกิจศึกษาภาคใต้ตอนบน (C7)

ข้อสรุปที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ ตลาดนัดความรู้: การนิเทศงานสหกิจ
เครือข่ายสหกิจศึกษาภาคใต้ตอนบน (C7)
3 -4 กันยายน 2553 พีซลากูน่ารีสอร์ท อ่าวนาง กระบี่


ลักษณะการดำเนินการคือให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองเคยทำแล้วประสบความสำเร็จในการนิเทศสหกิจ โดยแยกเป็นกลุ่มๆ แล้วกลุ่มคุณอำนวยช่วยกันสกัดความรู้ออกเป็นกลุ่ม ได้ 10 กลุ่ม

ในวันแรกมีกิจกรรมทำความรู้จักและสร้างความสัมพันธ์มีป๊อปและอ๊อดช่วยกิจกรรม อ.วัลลาเป็นวิทยากรกระบวนการ ทำกิจกรรมกลุ่ม โดยแบ่งการพูดคุยออกเป็นฐาน ก่อนไปสหกิจ ระหว่างปฏิบัติงานสหกิจ และหลังสหกิจศึกษา ผลที่ได้ได้ความสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่ม และได้ขุมความรู้ออกมาเมื่อสิ้นสุดกิจกรรม ช่วงกลางคืนทีมวิทยากรมาช่วยกันสกัดขุมความรู้เป็นกลุ่ม


ในวันที่สอง อาจารย์ทิพย์วัลย์สรุปความคาดหวังของผู้เข้าร่วมประชุมออกมาในรูป mind map พบว่าผู้เข้าสัมมนามีความคาดหวังหลากหลาย เช่น มาเรียนรู้ ทำความรู้จักเพื่อนใหม่ จากนั้นอ.วัลลาแนะนำการสรุปความรู้เป็นตารางอิสรภาพ และสารธารแห่งปัญญา( River diagram )

กิจกรรมสิ้นสุดช่วงเที่ยงของวันที่สอง เนื้อหาที่ได้ทางสหกิจศึกษาจะทำการสรุปและใช้เป็นข้อมูลของเครือข่ายต่อไป