วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

21-22 เมษายน 2554 เวทีเสวนาเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัยครั้งที่ 20

เวทีเสวนาเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัยครั้งที่ 20

21-22 เมษายน 2554 ณ สวนสามพราน Rose Garden Riverside



Best Practice กับผู้บริหาร

ศ. นพ. ปิยะสกล สกลสัตยาทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

Best practice การปฏิบัติอย่างเหนือชั้น เป็นเลิศ พัฒนาองค์กรนั้นๆ เป็นการสะสมความรู้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ มีการเรียนรู้ได้ (ใช้ประบวนการ KM) มีการวิเคราะห์ว่าทำไมจึงได้ผล ได้ผลอย่างไร

ทุกคนมี self leadership การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ การที่เราอยู่ในวงการศึกษาเราต้องเปลี่ยนแปลงเช่นกัน เราควรเป็นสถาปนิกของการเปลี่ยนแปลงแทนที่จะเป็นเหยื่อ ปี 2558 ASEAN เปิดประเทศ เราจะอยู่ตรงไหน

เราควรตั้ง goal และ written down เช่น การตั้ง vision ของมหาวิทยาลัยมหิดลต้องการเป็น world classต้องหาความสมดุลระหว่างทรัพยากรที่เรามีและความต้องการของสังคม การทำงานแบบ win-win

มหิดล(แปลว่าแผ่นดิน) ใช้ Innovation Integrity Quality Triangle มี Determination statement ว่า“Wisdom of the land” ปัญญาของแผ่นดิน

Best practice: การตั้งเป้าหมายควรสั้นๆไม่ยาว

ความสำเร็จขององค์กรขึ้นกับอะไร จากประสบการณ์ของอธิการบดี

· Think big, start small

· Show small success along the way towards the big goal

· To see is to believe ต้องเห็นจึงเชื่อ จึงต้องให้เห็นสิ่งที่เห็นได้ก่อน ที่ง่ายที่สุดคือทางกายภาพ

· “Bright and light” ศิริราชเมื่อก่อนทึมๆ ปัจจุบันสว่างและสดใส

ศาลายาก็สร้างความคิดว่า Live and Learn with nature

Benchmark กับ Best Practice ไปด้วยกันเสมอ เราต้องไปหากระบวนการที่ใหม่และดีกว่าโดยเอาตัวเราไปเทียบกับกระบวนการที่ดีที่สุด มีเป้าประสงค์ที่ต้องไปวัดความแตกต่างและวิเคราะห์ความแตกต่างนั้นๆ เราจะได้ก้าวไปได้

Journey to our goal เราควรฟังคนนอก เพราะการมองตัวเองมักจะเข้าข้างตนเอง เราจึงต้องเอาคนนอกมาevaluate ศิริราช มหิดล สิบปีก่อนเคยให้คนมาประเมิน พบว่าศิริราชเหมือน คนแก่ใส่สูทเก่าๆนั่งหลังค่อมคอตกอยู่ริมคลองบางกอกน้อย

ศิริราชเคยได้ comment ว่า Siriraj is like a elephant, thick skin. หลังจากนั้นแปดเดือนศิริราชปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ซึ่งสิ่งนี้ได้จากการ benchmark

ต้องหูตากว้าง ส่งคนไปดูงานมากๆ คนที่ไม่เคยเห็นอะไรจะทำอะไรที่ดีๆไม่ได้ การไปดูงานต้องรู้ว่าจะไปดูอะไร

มหิดลมีหลักสูตรเตรียมผู้บริหาร ผู้นำทุกระดับต้องไปพบผู้ทำงานทุกระดับเช่นกัน ควรไปจับถูกไม่ใช่จับผิด เยี่ยมเพื่อพัฒนา ให้ก่อนขอ พูดแล้วต้องทำ ทั้งระบบ ส่วนตัวและองค์กร

ต้องทำ Performance Agreement system ปีหน้าจะทำอะไร เราจะช่วยอะไรได้ ระบบประเมินผลการปฏิบัติงานรายบุคคล เชื่อมโยงสู่การประเมินผลการดำเนินการของหน่วยงาน

Change management เป็นสิ่งสำคัญ ทำได้โดยการเรียนรู้ร่วมกัน นำสิ่งดีๆไปต่อยอด ต้องรู้ Current situation แล้วไปดู Best Practice เรารู้ gap แล้วจึง Develop a plan to close gap กระบวนการเช่นนี้จะทำให้บรรลุถึงเป้าประสงค์

วิสัยทัศน์ เราตั้งร่วมกันไม่ใช่อธิการบดีตั้ง

Vision with Action can change the world

ถ่ายรูปหมู่ผู้บริหาร 7 สถาบัน และถ่ายรูปทีละสถาบัน

10:15 น.

การเรียนรู้ผ่าน Best Practice

โดยมีการนำเสนอจากผลงานของแต่ละมหาวิทยาลัย ให้เวลาเรื่องละ 20 นาที

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

นำเสนอเรื่อง การประเมินผลผลการปฏิบัติงานพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพ และบริหารทั่วไปด้วยระบบออนไลน์ ได้รับรางวัลนวัตกรรมการให้บริการประเภทรางวัลดีเด่น สถาบันอุดมศึกษา


· ลดเวลาการทำงานลง 1ใน 3

· ลดการใช้กระดาษ

ใช้การพัฒนาแบบ ตัดเสื้อใส่เอง มีการใช้ AAR ลองผิดลองถูก ช่วงการเปลี่ยนผ่านใช้เวลา อาศัยกระบวนการ share service ทำความเข้าใจและขยายผล มีการฝึกอบรมต่อเนื่อง ใช้ KM สู่แนวทางปฏิบัติที่ดี มีชุมชนนักปฏิบัติเครือข่าย รับการสะท้อนปัญหาจากผู้ใช้มาปรับปรุงระบบ มีช่องทางสื่อสาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มี Performance Management ทำให้หน่วยงานเพิ่มความเข้มข้นในการทำข้อตกลงร่วม

สิ่งที่ทำให้ประสบความสำเร็จ : ดึงการมีส่วนร่วม ใช้ direct data นำ IT มาใช้

มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักหอสมุด

การปรับเปลี่ยนบริการห้องสมุดในยุคการเปลี่ยนแปลง

ปัญหา : สถานการณ์ของสำนักห้องสมุด ทุกคนอยู่ได้โดยไม่ต้องมีห้องสมุด ผู้ใช้บริการลดลง

การดำเนินการ เริ่มโดยรวบรวมข้อมูลภายในภายนอก พบผู้บริหารทุกคณะ พบว่าโครงสร้างองค์กรซับซ้อน มี 7 ฝ่าย 27 งาน มีการซ้ำซ้อน ไม่มีการประสานงาน ส่งผลถึงการปฏิบัติงาน ขาดการสื่อสารกับผู้ใช้บริการ และพฤติกรรมของผู้ใช้บริการเปลี่ยน

การแก้ไข

1) ปรับปรุงโครงสร้าง โดยการมีส่วนร่วมเหลือ 3 ฝ่าย 7 งาน

2) เน้นการให้บริการเชิงรุก

1. ผ่อนปรนกฎระเบียบ เช่น การแต่งกาย

2. One stop service counter 1-3

3. เปิดบริการ 24 ชั่วโมงก่อนสอบปลายภาค 1 เดือน นักศึกษามากินนอนที่ห้องสมุด

4. มี Zone -24 เปิด 24 ชั่วโมงตลอดปี

5. จัดนิทรรศการหนังสือน่าอ่าน

6. จัดตั้งเครือข่าย NULiNet

7. นำบรรณารักษณ์ทุกคณะมาอบรม

8. บริการนำส่งหนังสือระหว่างห้องสมุด

9. อบรมการใช้ฐานข้อมูลตลอดทั้งปี

10. เข้าไปหาคณะ บรรจุหัวข้อการอบรมเป็นส่วยหนึ่งของรายวิชา

11. มีระบบแจ้งเตือนครบกำหนดส่งผ่าน email

12. Road show ทำบัตรสมาชิกและแนะนำบริการ

13. บริการออนไลน์

14. การออกแบบใหม่สำหรับ Service

15. มี VDO on demand

3) เพิ่มช่องทางการสื่อสารกับผู้ใช้

Email จดหมายข่าว Facebook Morno.com

4) เน้นการมีส่วนร่วมจากผู้ใช้บริการ คณะในการตัดสินใจซื้อ Database นิสิตมีส่วนร่วมในการเสนอรายชื่อหนังสือ

5) ปรับปรุงกระบวนการทำงาน เช่น งานธุรการจุดเดียว งานพัฒนา จัดซื้อสื่อทุกรูปแบบ นำ Technology มาใช่้ในการทำงาน เช่น โปรแกรม scan บัตรผู้เข้าใช้บริการ จองห้องค้นคว้ากลุ่ม รับแจังปัญหา Online บริการวิเคราะห์การอ้างอิง Lost and Found online โปรแกรมจัดซื้อหนังสือออนไลน์ SAR Online ฐานข้อมูลครุภัณฑ์ การเงิน บุคลากร สถิติการใช้บริการ

6) การสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงาน เมื่อมีปัญหา บุคลากรนัดประชุม หาวิธีแก้ปัญหาได้เอง

การแลกเปลี่ยนนักศึกษา MUIC

MUIC Model for student exchange เรียนเป็นไตรภาค เน้นคลาสเล็ก ไม่เกิน 40 คน

System Vision: To be one of the top International colleagues in Asia, Define well-rounded students

Mechanism

Process

Evaluation

International ………..

การพัฒนาคุณภาพบัณฑิตโดยการใช้กลไกการประกันคุณภาพ

ตัวชี้วัด คนเก่ง คนดี มีความสุข คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

มีการสะสมข้อมูลนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์ ได้ประเด็นที่สำคัญที่ต้องปรับปรุง โดยใช้ตัวชี้วัด

นวัตกรรมการจัดศึกษาทั่วไป ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

Trend ASEAN มาแรงมาก ผู้บริหารต้องชัด

มีคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ต้องแม่น concept General education

(ต้องทำ Effective utilization Management , Gen Ed คือวิชาที่ทำให้คนเป็นคน)

กิจกรรมในการรับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมเสวนาโดยการใช้อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ในการโหวต เป็น session ที่น่าสนใจมาก มี Interactive มากขึ้น

Benchmarking Best Practices รศ.ดร.เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ ที่ปรึกษาอธิการบดีด้านการพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล

Benchmarking is learning from the experiences of others.

การ benchmark ไม่จำเป็นต้องทำจากธุรกิจลักษณะเดียวกัน

BM มีทั้งแบบ formal และ informal

Formal BM เช่น Performance benchmarking

ตัวอย่างการ benchmark ในการผ่าตัดหัวใจเด็ก หลังผ่าตัดเด็กเสียชีวิตเนื่องจากการขนย้าย ในการดูแลรถ formula I ซึ่งใช้เวลาเพียง 7 วินาที ทีมแพทย์ได้ลงมาศึกษาการทำงานและเปรียบเทียบกับการผ่าตัด ทำอย่างไรจะให้ทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย อย่างรวดเร็ว ไม่ผิดพลาด พบว่าลดเปอร์เซ็นต์การผิดพลาดได้ถึง 70%

Case ของบริษัท Dabbawalas ในมุมไบมีสามีผู้ไม่กินอาหารนอกบ้าน แต่กินเฉพาะฝีมือภรรยา จึงเกิดธุรกิจของบริษัท Dabbawalas ส่งปิ่นโต 175,000 – 200,000 ปิ่นโตต่อวัน มีการใช้ coding เพื่อการกำหนดที่ส่ง

TRADE methodology (idea ในการทำ benchmarking)

Term of reference : plan project

Research: research current state ต้องรู้เรา ว่าตัวเราเป็นยังไง กำหนดตัวชี้วัด

Act: เก็บข้อมูลมาวิเคราะห์

Deploy: ไปดู หา action plan

Evaluation:

Day 2

มีกิจกรรม chat and share

กิจกรรม guided meditation

กิจกรรมตระหนักความสำคัญของ process โดยการคำนวณตัวเลข แล้วให้แต่ละกลุ่มนำเสนอ

กลุ่ม 1 เรื่องการประเมินออนไลน์ ซึ่ง มวล.ทำอยู่แล้ว จึงไม่บันทึกเพิ่มเติม

สรุปประเด็นกลุ่ม 2 ห้องสมุด

คล้ายกับการนำเสนอเมื่อวานนี้ แต่ลงรายละเอียดในการซักถามวิธีปฏิบัติ

สรุปประเด็นกลุ่มที่ 3 การแลกเปลี่ยนนักศึกษา

อุปสรรค/การแก้ไข ได้แก่ การถ่ายโอนหน่วยกิตมีรูปแบบต่างกัน(อาจใช้การตรวจสอบเนื้อหาว่าเหมือนกันมากกว่าสามในสี่ หลักสูตรที่สถาบันมีอยู่ไม่ตอบสนองสิ่งที่นักศึกษาอยากเรียน(อาจใช้วิธีเครือข่ายส่งต่อสถาบันพี่น้อง) การทำเว็บไซต์หลายภาษานอกเหนือจากไทย อังกฤษ ที่พักนักศึกษาต่างชาติ(โดยเฉพาะกรณีนักศึกษาไทยไปต่างประเทศ)

สรุปประเด็นกลุ่มที่ 4 การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพโดยใช้ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ

ปัญหาคุณภาพ Input ที่ส่งผลต่อ output แต่เรามีหน้าที่ปั้นดินให้เป็นดาว จึงต้องมี

1. การปฐมนิเทศ

2. จัดกิจกรรมสอดแทรก บูรณาการมิติของความดี การอยู่ร่วมกัน

3. ปรับพื้นฐานความรู้ของนักศึกษา

4. มีระบบกลั่นกรองนักศึกษา

5. จัดกิจกรรมสอดแทรกพุทธปัญญา

6. พัฒนาความเป็นครูอาจารย์ให้เข้าใจความแตกต่างของนักศึกษา มีจิตเมตตา ให้โอกาส เอาใจใส่

7. พัฒนาระบบรับนักศึกษาที่เน้นคุณธรรม

8. สอดแทรกคุณธรรมในกระบวนการสอน

9. พัฒนาระบบผ่านกลไกประกันคุณภาพ

10. สร้างกิจกรรมให้ผู้เรียนสั่งสมความดีหลากหลาย

11. ปรับระบบหลักการให้ตำแหน่งวิชาการแก่อาจารย์

(อาจารย์ผู้นำเสนอมีผลงานเพลงอยู่ในเว็บไซต์ของวัดชลประทานฯ ควรเช็คผลงานอีกครั้ง)

สรุปประเด็นกลุ่มที่ 5 นวัตกรรมการจัดการหลักสูตรศึกษาทั่วไป

คนเก่งระบบดีไปรอด ( Man and System)

นำเสนอด้วยภาพ

ขณะนี้ทุกมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

ตัวหลักสูตรมีความพยายามจัดหลักสูตรบูรณาการที่เป็นส่วนกลาง 3-4 วิชาที่นักศึกษาทุกคนต้องเรียน

การบริหารจัดการ มข.จัดหน่วยงานต่างหากเป็นสำนัก มอ. มวล. มหิดล จัดคณะทำงานร่วม หรือจัดในลักษณะกลุ่มคณะวิชา

ผู้สอนควรเป็น guru แต่มักมีปัญหาจึงต้องพัฒนาอาจารย์ที่สอนหมวดศึกษาทั่วไป มหิดลใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ กลุ่มเพื่อนครู MUTS ของมหิดล

การเรียนการสอนเน้น active learning มีทั้ง PBL, project based learning

การจัดวางรายวิชา จัดในปี 1-2 จัดกระจายตามพัฒนาการของผู้เรียน

การประเมินผล ต้องเปลี่ยนจึงเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เรียน

องค์ความรู้

· การกำหนดนโยบายต้องชัดเจน

· ผู้บริหารทุกระดับ ผู้เรียน ผู้สอนต้องเอาจริง มีการสื่อสารทำความเข้าใจให้ตรงกัน

· ใช้ TQF เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนการสอน

· ต้องทำ Benchmarking Best Practice

· กระบวนการประเมินผลต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกระบวนการเรียนรู้

· กระบวนการพัฒนาต้องผ่านการเรียนรู้ที่มีพอเพียง

· Total approach

· ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม

ปัญหาที่ต้องข้ามผ่าน:

· Balance conflict

· Large class VS small class

· Mind set

· Generation gap Teacher VS student

· Staff development

มีหลายเครือข่ายที่กำลังทำงานด้านนี้ เช่น Gen Ed Network of Thailand/CU เป็นเจ้าภาพ เครือข่ายอุดมศึกษา

UKM

อ.สัญชัย สรุปสามหลักในการทำงาน 3HA

Head คิด Hand ทำ Heart ใจ

นำไปสู่ Attitude, Aim, Action

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น