วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การเตรียมความพร้อมของอุดมศึกษาไทยกับการปรับตัวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน


การเตรียมความพร้อมของอุดมศึกษาไทยกับการปรับตัวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน

วันที่ 18-19 สิงหาคม 2554 หอประชุมกองทัพเรือ

จัดโดย ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


9:30 น.

กล่าวต้อนรับ โดย นพ. กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

กล่าวรายงาน โดย รองศาสตราจารย์ ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน ประธาน ปอมท. และ ประธานสภาคณาจารย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

พิธีเปิดการประชุม และปาฐกถาพิเศษ เรื่อง บทบาทของประเทศไทยในประชาคมอาเซียน

โดย รองนายกรัฐมนตรี ยงยุทธ วิชัยดิษฐ์

การเตรียมความพร้อมในสามเรื่องคือ การเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจอาเซียน และสังคมและวัฒนธรรม

จากนั้นเป็นพิธีมอบโล่รางวัลอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ของ ปอมท. ประจำปี พ.ศ. 2553 จำนวน คนจากสี่สาขาวิชา

10.45 – 12.00 น. บรรยายพิเศษ เรื่อง ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจโลก อาเซียนและประเทศไทย โดย ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD)

มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการศึกษาหลายเรื่อง ที่ได้จากการทำงานกับ UN

He graduated from The Netherlands and he wrote the dissertation about HR which was quite strange. But his supervisor was interested in how to develop people. (His org was not so satisfied with this since it was quite far from his work as the Bank of Thailand Scholarship student

การศึกษาและการพัฒนาที่ยั่งยืน Inclusive development, ID (บางที่ใช้คำว่า Sustainable development) เป็นการสร้างสังคมมนุษย์ที่มีความเสมอภาคเท่าเทียม จำเป็นต้องพัฒนาทุกส่วน ที่ UN พูดถึงสตรีเป็นเรื่องหลักมาก เพราะเน้นเรื่องความเสมอภาค ID เจาะจงคนทั้งขนาดใหญ่และย่อยให้เท่าเทียมกัน องค์กรเล็กๆไม่ควรถูกละเลย พูดกันถึงสังคม IT ทุกคนควรได้รับการเชื่อมโยงติดต่อกัน ไม่มี Digital divide รวมทุกอย่างเป็น ID

  1. 1. ปีนี้เป็นปีที่มีการใช้นโยบายการเงินการคลังเข้มงวดกว่าเดิม Austerity รัฐบาลทั่วโลกมีวินัยการเงินการคลัง ลดการกู้ จำกัดการลงทุน การอุดหนุนของรัฐบาลโดยเฉพาะการศึกษาถูกเบียดบังไปมาก ปล่อยให้ค่าเล่าเรียนแพง ให้ทุนน้อย UN ถือว่าเป็นเรื่องที่เราจะขอร้อง ภาครัฐกับเอกชนให้ช่วยกัน
  2. 2. คุณภาพการศึกษามีแนวโน้มลดลงมาก ต้องประสานการศึกษากับเศรษฐกิจ ในสังคมความรู้และข่าวสาร Knowledge society ต้องการคุณการการศึกษาที่เปลี่ยนไป
  3. 3. กำลังมีข้อสังเกตว่าประเทศที่ยากจนพัฒนาเร็ว ประเทศปานกลาง (emerging countries) ไม่สามารถหลุดพ้นจากบ่วงของความเป็นปานกลาง การคิดค้นเทคโนโลยี ทำ R&D มากจึงจะเป็นสัญญานของการเปลี่ยนแปลงที่ดี การศึกษาต้องมีผลต่อ innovation จึงจะก้าวข้ามได้ นัก(ตอนที่เรียน ทางเศรษฐศาสตร์สนใจว่าการลงทุนประเภทใดได้ผลเร็วที่สุดพบว่าคือการศึกษาระดับมัธยม ส่วนตัวคืออุดมศึกษา ประเทศปานกลางที่ post secondary เช่น vocational มีความสำคัญต่อสังคมมากขึ้น การจัดการขององค์กรต้องการผู้ที่มีความเข้าใจ)
  4. 4. การศึกษาและความเท่าเทียมกันของประชาชน สิ่งที่ค้นพบของ UN คือ ในสังคมที่มีความไม่เท่าเทียมกันอยู่ ยิ่งให้การศึกษามากยิ่งก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียม สังคมที่เท่าเทียมกันอยู่แล้ว ถ้าไม่สามารถไปจัดการเรื่องความไม่เท่าเทียมการไปเสริมการศึกษาไม่ได้ช่วย กระบวนการของ ICT ไม่มีส่วนช่วยเหลือความเท่าเทียมกัน แต่กลับก่อให้เกิด digital divide

ตัวอย่างของความเท่าเทียม เช่น ในอัฟริกาโทรศัพท์มือถือเกินเป้าหมายของจำนวนคนที่มีมือถือ ที่เคนยาผลิตสินค้าคือดอกไม้ส่งยุโรป สินค้าต้องถูกส่งไปประมูลที่ฮอลแลนด์ ทุกวันเกษตรกรจะดูข่าวสารได้ทาง Internet จะทำให้สามารถผลิตสินค้าได้ทันท่วงที เป็นข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน

โครงการที่เป็นประโยชน์เช่น Science, Technology and Innovation Policy (STIP) ต้องเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจมากขึ้น เอาสิ่งที่คิดค้นมาแล้วมาดัดแปลงและนำมาใช้ได้ จึงจะก่อให้เกิด R&D และ I

สังคมของเราจะใช้การผลิตที่มาจากเชิงกายภาพ ที่ดิน เครื่องจักร จะน้อยลงทุกที แต่จะมาจากข้อมูลข่าวสารและความคิด การจัดการทำงานไม่ต้องนั่งทำงานที่ออฟฟิศ ปัจจัยการผลิตที่สำคัญคือสมอง โลกที่แคบลง หลบซ่อนไม่ได้ สิ่งใดเกิดขึ้นจุดหนึ่งในดลกจะมีการเชื่อมโยงไปที่อื่นในโลก ต้องรองรับสังคมข่าวสารข้อมูลจากสังคมโลกให้มากขึ้น โลกมีดุลยภาพมากขึ้น เป็น second generation of Globalization เป็นแนวโน้มที่ชัดเจน การจดทะเบียน invention ใหม่ๆเวลานี้คนที่ทำมาจากเอเชียมากกว่าอเมริกา และเห็นชัดว่ามาจากญี่ปุ่นและจีน

การเงินของโลกเป็นการเงินที่เงินไหลกลับย้อนทาง reverse capital flow จากประเทศที่พัฒนาน้อยกว่าไปสู่ประเทศที่เจริญกว่า ประเทศเจริญเชื่อมั่นในระบบตลาดเกินร้อย นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลคำนวณว่าทำไมตลาดมีคุณภาพดีมาก เพราะตลาดกำหนดราคาดีที่สุดจึงให้ตลาดกำหนดราคา ซึ่งเป็นแนวทางที่นำไปสู่ความล่มสลายในสองสามปีที่ผ่านมา แต่จริงๆแล้วเรา(UN)ต้องการให้รัฐและตลาดทำงานร่วมกัน อเมริกามีปัญหาคือผลิตคนออกมาเท่าไรทุกคนเข้ามาอยู่ใน Wall street เพราะรายได้มาก ออกตราสาร CDO (Collateralized debt obligations(CDOs) are a type of structured asset-backed security (ABS) with multiple "tranches" that are issued by special purpose entities and collateralized by debt obligations including bonds and loans.) ในอเมริกาทำตราสารซ้อนตราสารซ้อนตราสาร โดยไม่ดูเบื้องหลังของ CDO, credit swap สถาบันการเงินอย่าง AIG ไปร่วมกับสถาบันการเงินที่ล่มสลายจึงต้องไปจ่ายเงินคืนและพลอยล่มสลายไปด้วย เงินจากตะวันออกกลาง เอเชียซึ่งมีดุลการชำระเงินเป็นบวก เงินสำรองของโลก เจ็ดสิบเปอร์เซนต์อยู่ในเอเชีย ในอเมริกา การออมติดลบ ระบบยอมให้มีการเชื่อในตลาดเกินร้อยโดยไม่มีการควบคุม การซื้อบ้านโดยวางประกันด้วยบ้านหลังนั้น กู้เลินเพื่อไปเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวก เพราะมีความเชื่อว่าสิ่งของต่างๆราคาขึ้นต่อเนื่อง เมื่อราคาน้ำมันพุ่งสูงมาก หนี้เสียมาก ราคาบ้านลดลง มูลค่าที่มีจึงเป็นมูลค่าปลอม ของกรีซรัฐบาลไปกู้เงินมาก หนี้สินเกินร้อยของรายได้ประชาชาติ (ไทยมีหนี้ร้อยละ 40 ญี่ปุ่นก็เกินร้อยแต่อยู่ได้เพราะเป็นหนี้ในประเทศมากกว่า)

Power shift อเมริกาและยุโรปการเงินเริ่มอ่อนแอ ทำให้รัฐบาลไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ จากนี้ไปอีกหลายๆปีความเจริญจะมาทางเอเชีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น