วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สรุปย่อการประชุม 1 มหาวิทยาลัย 1 จังหวัด: อุตรดิตถ์โมเดล



วันที่ 29-30 พฤษภาคม 2554 ได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาร่วมสร้างประเทศไทยน่าอยู่ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยในวันแรกได้รับฟังการบริหารจัดการอุตรดิตถ์โมเดลในภาพรวมทั้งหมด โดยมีกระบวนการ world cafe เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลักษณะ RICN ในวันที่สองกระบวนการซ้ำกับวันแรกจนเกือบเที่ยงจึงมีเนื้อหาที่ต่างๆปคือมีการปาฐกถาพิเศษ มหาวิทยาลัย...พลังแก้วิกฤติชาติ” จะขอสรุปประเด็นแบบง่ายๆเฉพาะใน 5 ประเด็นตามนี้ค่ะ
1. งานนี้ทำอะไร เราเกี่ยวข้องอะไร
2. อุตรดิตถ์โมเดลคืออะไร ระดับนโยบายจัดการอย่างไร
3. การออกแบบระบบการทำงานเชิงพื้นที่ทำอย่างไร
4. มวล.จะทำอะไร
5. ข้อคิดจาก ศ.นพ. ประเวศ วะสี
1. งานนี้ทำอะไร เราเกี่ยวข้องอะไร
งานนี้ สสส.(สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)เป็นผู้จัดการประชุมขึ้นเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมความคิดเห็นเพื่อนำไปสู่แนวทางการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมในบริบทของแต่ละมหาวิทยาลัย โดย สสส. ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ได้พัฒนารูปแบบการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จและสามารถเป็นแนวปฏิบัติที่ดี จึงได้นำเสนอให้สถาบันการศึกษาต่างๆได้เห็นการบริหารจัดการซึ่งเป็นการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จมากในการทำงานเพื่อท้องถิ่น การประชุมครั้งนี้จึงมีหัวข้อการนำเสนอเป็นเรื่อง 1 มหาวิทยาลัย 1 จังหวัด: อุตรดิตถ์โมเดล
2. อุตรดิตถ์โมเดลคืออะไร ระดับนโยบายจัดการอย่างไร
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดตถ์ ผศ. สิทธิชัย หาญสมบัติ ได้บรรยายภาพรวมการทำงานให้เห็นภาพว่า มรภ. ได้รับทุนสนับสนุนจาก สสส.ให้ตัดทำโครงการ ทำจนได้ข้อมูลของแต่ละตำบล ใช้ทุกยุทธศาสตร์ บูรณาการพันธกิจเพื่อให้ทำงานครั้งเดียวได้ผลหลายอย่าง เช่น สำหรับผู้สอน อาจารย์จะทำแผนการสอนที่เชื่อมโยงว่าจะนำนักศึกษาลงพื้นที่เกี่ยวข้องกับวิชานั้นอย่างไร แล้วนำข้อมูลย้อนกลับไปยังพื้นที่นั้นๆ เป็นนโยบายที่อธิการบดีชี้แจงเรื่องนี้ทุกครั้ง ให้งบเป็น Block grant ให้ใช้ในการลงพื้นที่ ทำหลายปี อาจารย์จะชำนาญขึ้น
นอกจากการบูรณาการยังช่วยโดยการคิดภาระงาน ให้อาจารย์ที่สอนน้อยแต่ลงพื้นที่มากก็คิดภาระงานให้ เทียบเกณฑ์เหล่านี้กับภาระการสอนว่าเทียบได้เท่าใด ถ้าเกิดกว่าภาระงานปกติจะมีค่าตอบแทนให้
งานวิจัยที่ขอทุนได้แล้วจะได้รางวัลเรื่องละสองหมื่น เป็นนโยบายจูงใจให้คนทำงาน
ชาวบ้านมีความใกล้ชิดกับมหาวิทยาลัย โดยมรภ จะหาทางแก้ไขและหาคน เพื่อช่วยเหลือ ในรายละเอียดแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน ในแต่ละตำบลจะมีอาจารย์ทุกคณะไปร่วมกันพัฒนา การทำงานเป็นทีมแบบนี้ทำให้การทำงานลุล่วงไปได้ด้วยดี
3. การออกแบบระบบการทำงานเชิงพื้นที่ทำอย่างไร
รศ.ดร. ฉัตรนภา พรหมมา แกนนำคณะทำงานอุตรดิตถ์โมเดลได้อธิบาย “การออกแบบระบบการทำงานเชิงพื้นที่” ว่าที่นี่เป็นลูกศิษย์อ.หมอประเวศ ซึ่งแนวทางทำงานเป็นแนวเดียวกันอยู่แล้ว ได้ออกแบบเพื่อผูกโยงคนดีๆให้ทำงานเป็นระบบไม่ขึ้นกับคน เมื่อคนเก่าออกไป คนใหม่จะทำงานต่อเนื่องได้ เป็นการบริการบูรณาการเชิงพื้นที่
คณบดีทุกคณะลงนามความร่วมมือกับตำบล 3 ตำบล แต่ละคณะจะมีหน่วยจัดการงานวิจัย(RMU)
โมเดลที่นี่ใช้ RICN
R Researchใช้หน่วยจัดการวิจัยของทุกคณะ เชื่อมโยง
I Integration บูรณาการไม่แต่เฉพาะพันธกิจ ต้องบูรณาการงานสอน งานบริการวิชาการ และรวมไปถึง QA ผลงานจะไม่ใช่ผลงานของคณะ แต่จะเชื่อมโยงกับหลายคณะ เช่น งานของคณะเกษตร แต่มีการจัดการช่วยเรื่องแผนธุรกิจ เครือข่ายโรงเรียนก็ต้องได้ผ่าน QA เช่นกัน อบต.ได้อยู่แล้ว ทุกฝ่าย win-win จึงสามารถมาได้โดยไม่กระทบงานหลัก
C Communication บนฐานข้อมูล มีทั้งเชิงอิเลกทรอนิกส์ และธรรมดา เน้นที่ใช้งานจริง อบต.มีฐานข้อมูลที่ใช้ได้จริง จะได้โจทย์จากฐานข้อมูล
N Network สำคัญมากเพราะจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เหมือนที่อ.หมอประเวศว่าเชื่อมเซลสมอง การต่อท่อถึงกัน เป็นเครือข่ายจะทำให้ได้ผลงานร่วมกัน เป็นต้นทุนที่ต่อยอดขยายผล เสริมพลังสานพลังกันอย่างยั่งยืนตลอดไป
และในการสืบทอดการทำงานจากรุ่นสู่รุ่นโดยไม่ยึดติดกับบุคคล อ.สุภาวินี รองอธิการบดีวิจัยและบริการวิชาการ ได้เล่าให้ฟังถึงการต่องานกันว่า ที่ อ.ฉัตรนภากำหนดระบบ ช่วงนั้นตัวอาจารย์มีส่วนรวมอยู่แล้ว เห็นการทำงานในลักษณะพี่เลี้ยงจากคนที่มีประสบการณ์จะทำให้งานราบรื่นขึ้น เมื่ออาจารย์เข้ามาเป็นรองอธิการบดีก็สามารถทำงานต่อเนื่องได้ มีความเอื้ออาทร ช่วยเหลือกัน ใช้ระบบพี่เลี้ยงในการส่งไม้ต่อ
ทุกมหาวิทยาลัยทำเรื่อง QA ของที่นี่ใช้หน่วยจัดการงานวิจัยคลี่ดูงานของสำนักว่าสามารถตอบสนองตัวชี้วัดใดได้บ้าง เราสามารถตอบตัวชี้วัดได้ทุกตัวของทุกสำนัก คณบดีทุกคณะช่วยวิเคราะห์โดยมีสำนักมาตรฐานของมหาวิทยาลัย ดำเนินงานปกติไปกับการประกันคุณภาพโดยไม่มีงานเพิ่มเติม ของที่นี่งานวิจัยมีทั้งชนิดตีพิมพ์และเผยแพร่ อาจารย์บางผ่านลงพื้นที่อย่างเดียวอาจจะไม่สามารถนับเป็นผลงานได้ (ทั้งนี้ต้องดูว่าจะมีการปรับในส่วนนี้อย่างไรในอนาคต โดยการขับเคลื่อนของ สกอ.)
4. มวล.จะทำอะไร
จากการที่ทีมผู้เข้าร่วมประชุม( อธิการบดี อ.วันสุรีย์ อ.โอภาส อ.สุธีระ คุณภีม คุณปิยวัชน์และอ.จงสุข) ได้มีการประชุมย่อยซึ่งมีทั้งช่วงเวลาตามกำหนดการในห้องประชุม และได้ประชุมซ้ำเฉพาะกลุ่มเพื่อลงลายละเอียด มีหลายประเด็นที่ร่วมแสดงความเห็นกัน เพราะมองเห็นว่าเป็นโมเดลที่ดี ควรทำ และจริงๆเราต้องตั้งศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัด มีการดำเนินงานต่อเนื่อง
5. ข้อคิดจาก ศ.นพ. ประเวศ วะสี
ในสังคประเทศไทยมีการเปลี่ยนการปกครองจากการรวมศูนย์ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาหลายด้านเช่น
1.ชุมชนท้องถิ่นอ่อนแอ ทั้งๆที่ควรจะจัดการตัวเองได้
2. มีความขัดแย้ง ไม่มีวัฒนธรรม ซึ่งวัฒนธรรมจะรวมถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เป็นศีลธรรมไปในตัว ชุมชนถูกทำลายเพราะอำนาจเงิน อำนาจรัฐ อำนาจความรู้ที่ไม่เข้าใจท้องถิ่น ซึ่งส่งผลถึงความขัดแย้งในสังคม
3. ทำให้ระบบราชการอ่อนแอทั้งประเทศ
4. การเกิดคอร์รับชั่น สวิสเซอร์แลนด์ก็เคยมีคอร์รับชั่น แต่หายไปด้วยการแบ่งอำนาจลงสู่ท้องถิ่น
5. ทำให้ทำรัฐประหารได้ง่าย ญี่ปุ่นในอดีตเป็นเช่นนั้น เมื่ออเมริกาเข้ายึดก็ทำการแยกให้มีการปกครองท้องถิ่น อินเดีย กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นจึงไม่มีรัฐประหารเลย
มหาวิทยาลัยเป็นพลังทางปัญญา ทำอย่างไรจึงจะออกจากวิกฤตได้ มหาวิทยาลัยมีร้อยกว่าแห่ง ควรมาคิดทำความเข้าใจว่าประเทศของเราล้มเหลวเพราะเหตุใด ประเทศไทยสร้างเจดีย์จากยอดซึ่งไม่ถูก เราควรสร้างเจดีย์จากฐาน ฐานของประเทศคือชุมชน การเปลี่ยนแนวคิดเป็น 1 มหาวิทยาลัย 1 จังหวัด เจ้าชายสิถธัตถะ ได้มองเห็นชีวิตจริงจึงเกิดจิตสำนึก แต่ไม่มีความรู้จึงต้องไปลองผิดลองถูก กำแพงสถาบันการศึกษาเหมือนกำแพงกั้นเจ้าชายไม่ให้มองเห็นความจริง ไม่เกิดจินตนาการ การที่นักศึกษาได้ลงพื้นที่จะสามารถรับรู้ความรู้สึกมีความเห็นใจ นำไปสู่การอยากทำงานเพื่อช่วยเหลือ
ความรู้มีสองชนิด คือ ความรู้จากการศึกษาและความรู้ในตัวคนซึ่งได้จากประสบการณ์ชีวิต เราควรเคารพความรู้ในตัวคน ทุกคนจึงจะอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี ระบบการศึกษาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทำให้คนขาดจากรากเหง้า รู้แต่ตัวเอง สิ่งที่กำลังทำในลํษณะอุตรดิตถ์โมเดลนี้เป็นการไปดูความรู้ในตัวชาวบ้าน เคารพศักดิ์ศรีคุณค่าความเป็นคน สสส.สนับสนุนการสร้างองคาพยพที่ดี เปิดพื้นที่ทางสังคมและปัญญา ดลกทั้งโลกต้องเรียนรู้ร่วมกันเป็นเพื่อนมนุษย์ร่วมกัน จึงจะถือว่าเป็นโลกาภิวัฒน์ ไม่มีใครเกษียณได้จากการรับใช้มนุษยชาติ
หมายเหตุ: นพ. กำจร ตติยะกวี รองเลขาธิการ สกอ. ได้กล่าวเสริมในส่วนที่ถูดพาดพิงว่าจะดำเนินการอย่างไรในการให้ค่างานวิจัยเชิงพื้นที่ ทางสกอ.กำลังขับเคลื่อนและต้องการความเห็นจากสถาบันอุดมศึกษา แต่ในท้ายสุดได้ฝากประเด็นคิดไว้ว่า สิ่งที่เราควรตั้งคำถามจากอุตรดิตถ์โมเดลคือ “ทำไมชุมชนจึงวิ่งเข้ามาหามหาวิทยาลัย ทำไมจึงเห็นมหาวิทยาลัยเป็นที่พึ่ง”
30 พฤษภาคม 2554/จงสุข คงเสน

วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การประชุมสัมมนาทิศทางและแนวทางของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย

การประชุมสัมมนาทิศทางและแนวทางของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย

19 – 20 พฤษภาคม 2554 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์


ผศ. สุพรรณี สมบูรณ์ธรรม

9:15 น. การกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดงาน

TCU ตั้งในปี 2547 และเจริญก้าวหน้าตลอดมา แต่ละปีจะรับฟังความต้องการของสถาบัน เพื่อพัฒนาการศึกษาชาติโดยใช้ E-Learning

เดิม TCU ต้องการเป็นหน่วยงานกลางประสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเพื่อใช้ ICT ในการศึกษา

ทั่วโลกผู้เรียนแบบ E-Learning มีมากขึ้นและมากขึ้น ในขณะที่นักศึกษาเข้าสู่มหาวิทยาลัยของเราลดลง มีการแข่งขันด้วยคุณภาพ หลายหลักสูตรปิดไปเพราะไม่ตอบสนอง Competency ของคน มีการปรับหลักสูตร คิดอาชีพใหม่ เนื้อหาที่สอนมีการปรับ

TCU เซ็ตระบบกลาง มี Content กลาง มีการลงทุนสูง มีเนื้อหาที่เปิดฟรีสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ลดการลงทุนในเรื่องการสร้างทรัพยากร และช่วยกันถ่ายทอดเทคโนโลยี เช่น เรื่องของภาษาเป็นจุดอ่อนของนักศึกษาของเรา เราจะช่วยกันแก้อย่างไร

9:35 น.

ในหัวข้อแผนงานโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่งในอุดมศึกษาไทย ผศ.ดร. ฐาปนีย์ ธรรมเมธา ผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ผศ.ดร. อนุชัย รองผู้อำนวยการโครงการได้กล่าวถึงความคาดหวังต่อการประชุมครั้งนี้

หลังจากนั้นตัวแทนของแต่ละเครือข่ายได้นำเสนอสิ่งที่ได้ดำเนินการไป มี 6 เครือข่ายที่นำเสนอ และได้เป็นตัวแทนของเครือข่ายภาคใต้ตอนบนในการนำเสนอ เครือข่ายอื่นได้แก่ ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดร. ราเชนทร์ โกศัลวิตร รอง ผอ. ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ผศ. ดร. มรว. กัลยา ติคภัทิย์ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.จารุวรรณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รศงดร. ถนอมพร เลาหวิจิตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



และมีช่วงการประชุมร่วมของแต่ละเครือข่าย ในเครือข่ายภาคใต้ตอนบนได้มีข้อสรุปดังนี้

1. วันที่ 13-15 มิถุนายน 2554 จะมีการอบรมสำหรับผู้ผลิตสื่อ โดยทีมงานของ อ.บัณฑิต/TCU

2. วันที่ 27 -29 มิถุนายน 2554 จะมีการอบรมสำหรับอาจารย์ผู้สอนโดยใช้ e-Learning โดยทีมวิทยากร TCU ทั้งนี้จะจัดที่ภูเก็ต

ทั้งสองคอร์สจะรีบทำเอกสารส่งไปที่สถาบันโดยด่วน แต่ขอให้ผู้แทนแต่ละสถาบันกรุณาประสานงานในสถาบันไว้ก่่อน เพราะเรากำหนดค่อนข้างกระชั้น แต่ดำเนินการตามที่เราตกลงกันในที่ประชุมค่ะ

3. แนวคิดสำหรับการจัดการเครือข่ายปี 2555 เป็นแนวทางที่จะต้องยืนยันในที่ประชุมหรือติดต่อแจ้งกันอีกครั้งก่อนจะดำเนินการเพื่อขอการสนับสนุนจาก TCU (คาดว่าน่าจะเป็นช่วงเดือนมิถุนายน กรกฎาคม) โดยเราได้ประมาณการดำเนินการใน 3 เรื่องคือ

1. ดำเนินการกระจายสื่ออิเลกทรอนิกส์สู่ชุมชนและติดตามประเมินผล

2. จัดทำ content เพิ่มเติม เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในหัวข้อเรื่องที่ยกขึ้นเป็นตัวอย่างดังนี้

1) การจัดการภัยพิบัติ

2) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

3) การออกแบบผลิตภัณฑ์

4) เทคโนโลยีส่งเสริมการส่งออก (คอร์สแวร์สอนการทำ e-commerce ช่วยให้ผู้ประกอบการในชุมชน)

5) การอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น

6) การเพิ่มประสิทธิภาพทำยางแผ่น ( ทางวิทยาลัยชุมชนระนองเสนอเพิ่มขึ้นมา เพราะเป็นหลักสูตรที่มีเนื้อหาอยู่แล้ว และเมื่อทำแล้วจะได้ใช้ลงถึงชุมชนจริงๆ)

3. ดำเนินการพัฒนาบุคลากร เพื่อต่อยอด update technology และจัดหาคอมพิวเตอร์ที่

เหมาะสมกับการใช้งานผลิตสื่อ เช่น เครื่อง MAC, กล้อง

โดยในการขอการสนับสนุน ประมาณไว้ที่วงเงินหนึ่งล้านบาท เท่ากับที่ดำเนินการของปี 2554 นี้


รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม



ลำดับ

ชื่อ

สถาบัน

Email address

1

ผศ. พวงน้อย โลหะขจรพันธ์

วิทยาลัยภาคใต้

puangnoi@hotmail.com

2

นางสาวพวงรัตน์ จินพล

วิทยาลัยภาคใต้

mspuangrat@hotmail.com

3

นายธนิต สำลีวงค์

วิทยาลัยตาปี

tanit@tapee.ac.th

4

นายพงศ์ภน ปิติสุข

วิทยาลัยตาปี

pongpon@tapee.ac.th

5

นางสาวชริตา บุญเรือง

วิทยาลัยชุมชนระนอง

mam_achara@hotmail.com

6

นางสาวจันทรา บุญวิชัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Chantra_bun@hotmail.com

7

นางสาวประทุมพร วีระสุข

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Noo_preawa@hotmail.com

8

นางวิภาวรรณ บัวทอง

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

wipawanonline@yahoo.com

9

นายสมพร เรืองอ่อน

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

rsomporn@hotmail.com

10

นางสาวแน่งน้อย แสงเสน่ห์

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

saengsane@yahoo.co.th

11

นางจงสุข คงเสน

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

jongsuko@hotmail.com



วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

21-22 เมษายน 2554 เวทีเสวนาเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัยครั้งที่ 20

เวทีเสวนาเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัยครั้งที่ 20

21-22 เมษายน 2554 ณ สวนสามพราน Rose Garden Riverside



Best Practice กับผู้บริหาร

ศ. นพ. ปิยะสกล สกลสัตยาทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

Best practice การปฏิบัติอย่างเหนือชั้น เป็นเลิศ พัฒนาองค์กรนั้นๆ เป็นการสะสมความรู้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ มีการเรียนรู้ได้ (ใช้ประบวนการ KM) มีการวิเคราะห์ว่าทำไมจึงได้ผล ได้ผลอย่างไร

ทุกคนมี self leadership การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ การที่เราอยู่ในวงการศึกษาเราต้องเปลี่ยนแปลงเช่นกัน เราควรเป็นสถาปนิกของการเปลี่ยนแปลงแทนที่จะเป็นเหยื่อ ปี 2558 ASEAN เปิดประเทศ เราจะอยู่ตรงไหน

เราควรตั้ง goal และ written down เช่น การตั้ง vision ของมหาวิทยาลัยมหิดลต้องการเป็น world classต้องหาความสมดุลระหว่างทรัพยากรที่เรามีและความต้องการของสังคม การทำงานแบบ win-win

มหิดล(แปลว่าแผ่นดิน) ใช้ Innovation Integrity Quality Triangle มี Determination statement ว่า“Wisdom of the land” ปัญญาของแผ่นดิน

Best practice: การตั้งเป้าหมายควรสั้นๆไม่ยาว

ความสำเร็จขององค์กรขึ้นกับอะไร จากประสบการณ์ของอธิการบดี

· Think big, start small

· Show small success along the way towards the big goal

· To see is to believe ต้องเห็นจึงเชื่อ จึงต้องให้เห็นสิ่งที่เห็นได้ก่อน ที่ง่ายที่สุดคือทางกายภาพ

· “Bright and light” ศิริราชเมื่อก่อนทึมๆ ปัจจุบันสว่างและสดใส

ศาลายาก็สร้างความคิดว่า Live and Learn with nature

Benchmark กับ Best Practice ไปด้วยกันเสมอ เราต้องไปหากระบวนการที่ใหม่และดีกว่าโดยเอาตัวเราไปเทียบกับกระบวนการที่ดีที่สุด มีเป้าประสงค์ที่ต้องไปวัดความแตกต่างและวิเคราะห์ความแตกต่างนั้นๆ เราจะได้ก้าวไปได้

Journey to our goal เราควรฟังคนนอก เพราะการมองตัวเองมักจะเข้าข้างตนเอง เราจึงต้องเอาคนนอกมาevaluate ศิริราช มหิดล สิบปีก่อนเคยให้คนมาประเมิน พบว่าศิริราชเหมือน คนแก่ใส่สูทเก่าๆนั่งหลังค่อมคอตกอยู่ริมคลองบางกอกน้อย

ศิริราชเคยได้ comment ว่า Siriraj is like a elephant, thick skin. หลังจากนั้นแปดเดือนศิริราชปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ซึ่งสิ่งนี้ได้จากการ benchmark

ต้องหูตากว้าง ส่งคนไปดูงานมากๆ คนที่ไม่เคยเห็นอะไรจะทำอะไรที่ดีๆไม่ได้ การไปดูงานต้องรู้ว่าจะไปดูอะไร

มหิดลมีหลักสูตรเตรียมผู้บริหาร ผู้นำทุกระดับต้องไปพบผู้ทำงานทุกระดับเช่นกัน ควรไปจับถูกไม่ใช่จับผิด เยี่ยมเพื่อพัฒนา ให้ก่อนขอ พูดแล้วต้องทำ ทั้งระบบ ส่วนตัวและองค์กร

ต้องทำ Performance Agreement system ปีหน้าจะทำอะไร เราจะช่วยอะไรได้ ระบบประเมินผลการปฏิบัติงานรายบุคคล เชื่อมโยงสู่การประเมินผลการดำเนินการของหน่วยงาน

Change management เป็นสิ่งสำคัญ ทำได้โดยการเรียนรู้ร่วมกัน นำสิ่งดีๆไปต่อยอด ต้องรู้ Current situation แล้วไปดู Best Practice เรารู้ gap แล้วจึง Develop a plan to close gap กระบวนการเช่นนี้จะทำให้บรรลุถึงเป้าประสงค์

วิสัยทัศน์ เราตั้งร่วมกันไม่ใช่อธิการบดีตั้ง

Vision with Action can change the world

ถ่ายรูปหมู่ผู้บริหาร 7 สถาบัน และถ่ายรูปทีละสถาบัน

10:15 น.

การเรียนรู้ผ่าน Best Practice

โดยมีการนำเสนอจากผลงานของแต่ละมหาวิทยาลัย ให้เวลาเรื่องละ 20 นาที

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

นำเสนอเรื่อง การประเมินผลผลการปฏิบัติงานพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพ และบริหารทั่วไปด้วยระบบออนไลน์ ได้รับรางวัลนวัตกรรมการให้บริการประเภทรางวัลดีเด่น สถาบันอุดมศึกษา


· ลดเวลาการทำงานลง 1ใน 3

· ลดการใช้กระดาษ

ใช้การพัฒนาแบบ ตัดเสื้อใส่เอง มีการใช้ AAR ลองผิดลองถูก ช่วงการเปลี่ยนผ่านใช้เวลา อาศัยกระบวนการ share service ทำความเข้าใจและขยายผล มีการฝึกอบรมต่อเนื่อง ใช้ KM สู่แนวทางปฏิบัติที่ดี มีชุมชนนักปฏิบัติเครือข่าย รับการสะท้อนปัญหาจากผู้ใช้มาปรับปรุงระบบ มีช่องทางสื่อสาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มี Performance Management ทำให้หน่วยงานเพิ่มความเข้มข้นในการทำข้อตกลงร่วม

สิ่งที่ทำให้ประสบความสำเร็จ : ดึงการมีส่วนร่วม ใช้ direct data นำ IT มาใช้

มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักหอสมุด

การปรับเปลี่ยนบริการห้องสมุดในยุคการเปลี่ยนแปลง

ปัญหา : สถานการณ์ของสำนักห้องสมุด ทุกคนอยู่ได้โดยไม่ต้องมีห้องสมุด ผู้ใช้บริการลดลง

การดำเนินการ เริ่มโดยรวบรวมข้อมูลภายในภายนอก พบผู้บริหารทุกคณะ พบว่าโครงสร้างองค์กรซับซ้อน มี 7 ฝ่าย 27 งาน มีการซ้ำซ้อน ไม่มีการประสานงาน ส่งผลถึงการปฏิบัติงาน ขาดการสื่อสารกับผู้ใช้บริการ และพฤติกรรมของผู้ใช้บริการเปลี่ยน

การแก้ไข

1) ปรับปรุงโครงสร้าง โดยการมีส่วนร่วมเหลือ 3 ฝ่าย 7 งาน

2) เน้นการให้บริการเชิงรุก

1. ผ่อนปรนกฎระเบียบ เช่น การแต่งกาย

2. One stop service counter 1-3

3. เปิดบริการ 24 ชั่วโมงก่อนสอบปลายภาค 1 เดือน นักศึกษามากินนอนที่ห้องสมุด

4. มี Zone -24 เปิด 24 ชั่วโมงตลอดปี

5. จัดนิทรรศการหนังสือน่าอ่าน

6. จัดตั้งเครือข่าย NULiNet

7. นำบรรณารักษณ์ทุกคณะมาอบรม

8. บริการนำส่งหนังสือระหว่างห้องสมุด

9. อบรมการใช้ฐานข้อมูลตลอดทั้งปี

10. เข้าไปหาคณะ บรรจุหัวข้อการอบรมเป็นส่วยหนึ่งของรายวิชา

11. มีระบบแจ้งเตือนครบกำหนดส่งผ่าน email

12. Road show ทำบัตรสมาชิกและแนะนำบริการ

13. บริการออนไลน์

14. การออกแบบใหม่สำหรับ Service

15. มี VDO on demand

3) เพิ่มช่องทางการสื่อสารกับผู้ใช้

Email จดหมายข่าว Facebook Morno.com

4) เน้นการมีส่วนร่วมจากผู้ใช้บริการ คณะในการตัดสินใจซื้อ Database นิสิตมีส่วนร่วมในการเสนอรายชื่อหนังสือ

5) ปรับปรุงกระบวนการทำงาน เช่น งานธุรการจุดเดียว งานพัฒนา จัดซื้อสื่อทุกรูปแบบ นำ Technology มาใช่้ในการทำงาน เช่น โปรแกรม scan บัตรผู้เข้าใช้บริการ จองห้องค้นคว้ากลุ่ม รับแจังปัญหา Online บริการวิเคราะห์การอ้างอิง Lost and Found online โปรแกรมจัดซื้อหนังสือออนไลน์ SAR Online ฐานข้อมูลครุภัณฑ์ การเงิน บุคลากร สถิติการใช้บริการ

6) การสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงาน เมื่อมีปัญหา บุคลากรนัดประชุม หาวิธีแก้ปัญหาได้เอง

การแลกเปลี่ยนนักศึกษา MUIC

MUIC Model for student exchange เรียนเป็นไตรภาค เน้นคลาสเล็ก ไม่เกิน 40 คน

System Vision: To be one of the top International colleagues in Asia, Define well-rounded students

Mechanism

Process

Evaluation

International ………..

การพัฒนาคุณภาพบัณฑิตโดยการใช้กลไกการประกันคุณภาพ

ตัวชี้วัด คนเก่ง คนดี มีความสุข คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

มีการสะสมข้อมูลนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์ ได้ประเด็นที่สำคัญที่ต้องปรับปรุง โดยใช้ตัวชี้วัด

นวัตกรรมการจัดศึกษาทั่วไป ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

Trend ASEAN มาแรงมาก ผู้บริหารต้องชัด

มีคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ต้องแม่น concept General education

(ต้องทำ Effective utilization Management , Gen Ed คือวิชาที่ทำให้คนเป็นคน)

กิจกรรมในการรับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมเสวนาโดยการใช้อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ในการโหวต เป็น session ที่น่าสนใจมาก มี Interactive มากขึ้น

Benchmarking Best Practices รศ.ดร.เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ ที่ปรึกษาอธิการบดีด้านการพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล

Benchmarking is learning from the experiences of others.

การ benchmark ไม่จำเป็นต้องทำจากธุรกิจลักษณะเดียวกัน

BM มีทั้งแบบ formal และ informal

Formal BM เช่น Performance benchmarking

ตัวอย่างการ benchmark ในการผ่าตัดหัวใจเด็ก หลังผ่าตัดเด็กเสียชีวิตเนื่องจากการขนย้าย ในการดูแลรถ formula I ซึ่งใช้เวลาเพียง 7 วินาที ทีมแพทย์ได้ลงมาศึกษาการทำงานและเปรียบเทียบกับการผ่าตัด ทำอย่างไรจะให้ทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย อย่างรวดเร็ว ไม่ผิดพลาด พบว่าลดเปอร์เซ็นต์การผิดพลาดได้ถึง 70%

Case ของบริษัท Dabbawalas ในมุมไบมีสามีผู้ไม่กินอาหารนอกบ้าน แต่กินเฉพาะฝีมือภรรยา จึงเกิดธุรกิจของบริษัท Dabbawalas ส่งปิ่นโต 175,000 – 200,000 ปิ่นโตต่อวัน มีการใช้ coding เพื่อการกำหนดที่ส่ง

TRADE methodology (idea ในการทำ benchmarking)

Term of reference : plan project

Research: research current state ต้องรู้เรา ว่าตัวเราเป็นยังไง กำหนดตัวชี้วัด

Act: เก็บข้อมูลมาวิเคราะห์

Deploy: ไปดู หา action plan

Evaluation:

Day 2

มีกิจกรรม chat and share

กิจกรรม guided meditation

กิจกรรมตระหนักความสำคัญของ process โดยการคำนวณตัวเลข แล้วให้แต่ละกลุ่มนำเสนอ

กลุ่ม 1 เรื่องการประเมินออนไลน์ ซึ่ง มวล.ทำอยู่แล้ว จึงไม่บันทึกเพิ่มเติม

สรุปประเด็นกลุ่ม 2 ห้องสมุด

คล้ายกับการนำเสนอเมื่อวานนี้ แต่ลงรายละเอียดในการซักถามวิธีปฏิบัติ

สรุปประเด็นกลุ่มที่ 3 การแลกเปลี่ยนนักศึกษา

อุปสรรค/การแก้ไข ได้แก่ การถ่ายโอนหน่วยกิตมีรูปแบบต่างกัน(อาจใช้การตรวจสอบเนื้อหาว่าเหมือนกันมากกว่าสามในสี่ หลักสูตรที่สถาบันมีอยู่ไม่ตอบสนองสิ่งที่นักศึกษาอยากเรียน(อาจใช้วิธีเครือข่ายส่งต่อสถาบันพี่น้อง) การทำเว็บไซต์หลายภาษานอกเหนือจากไทย อังกฤษ ที่พักนักศึกษาต่างชาติ(โดยเฉพาะกรณีนักศึกษาไทยไปต่างประเทศ)

สรุปประเด็นกลุ่มที่ 4 การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพโดยใช้ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ

ปัญหาคุณภาพ Input ที่ส่งผลต่อ output แต่เรามีหน้าที่ปั้นดินให้เป็นดาว จึงต้องมี

1. การปฐมนิเทศ

2. จัดกิจกรรมสอดแทรก บูรณาการมิติของความดี การอยู่ร่วมกัน

3. ปรับพื้นฐานความรู้ของนักศึกษา

4. มีระบบกลั่นกรองนักศึกษา

5. จัดกิจกรรมสอดแทรกพุทธปัญญา

6. พัฒนาความเป็นครูอาจารย์ให้เข้าใจความแตกต่างของนักศึกษา มีจิตเมตตา ให้โอกาส เอาใจใส่

7. พัฒนาระบบรับนักศึกษาที่เน้นคุณธรรม

8. สอดแทรกคุณธรรมในกระบวนการสอน

9. พัฒนาระบบผ่านกลไกประกันคุณภาพ

10. สร้างกิจกรรมให้ผู้เรียนสั่งสมความดีหลากหลาย

11. ปรับระบบหลักการให้ตำแหน่งวิชาการแก่อาจารย์

(อาจารย์ผู้นำเสนอมีผลงานเพลงอยู่ในเว็บไซต์ของวัดชลประทานฯ ควรเช็คผลงานอีกครั้ง)

สรุปประเด็นกลุ่มที่ 5 นวัตกรรมการจัดการหลักสูตรศึกษาทั่วไป

คนเก่งระบบดีไปรอด ( Man and System)

นำเสนอด้วยภาพ

ขณะนี้ทุกมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

ตัวหลักสูตรมีความพยายามจัดหลักสูตรบูรณาการที่เป็นส่วนกลาง 3-4 วิชาที่นักศึกษาทุกคนต้องเรียน

การบริหารจัดการ มข.จัดหน่วยงานต่างหากเป็นสำนัก มอ. มวล. มหิดล จัดคณะทำงานร่วม หรือจัดในลักษณะกลุ่มคณะวิชา

ผู้สอนควรเป็น guru แต่มักมีปัญหาจึงต้องพัฒนาอาจารย์ที่สอนหมวดศึกษาทั่วไป มหิดลใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ กลุ่มเพื่อนครู MUTS ของมหิดล

การเรียนการสอนเน้น active learning มีทั้ง PBL, project based learning

การจัดวางรายวิชา จัดในปี 1-2 จัดกระจายตามพัฒนาการของผู้เรียน

การประเมินผล ต้องเปลี่ยนจึงเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เรียน

องค์ความรู้

· การกำหนดนโยบายต้องชัดเจน

· ผู้บริหารทุกระดับ ผู้เรียน ผู้สอนต้องเอาจริง มีการสื่อสารทำความเข้าใจให้ตรงกัน

· ใช้ TQF เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนการสอน

· ต้องทำ Benchmarking Best Practice

· กระบวนการประเมินผลต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกระบวนการเรียนรู้

· กระบวนการพัฒนาต้องผ่านการเรียนรู้ที่มีพอเพียง

· Total approach

· ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม

ปัญหาที่ต้องข้ามผ่าน:

· Balance conflict

· Large class VS small class

· Mind set

· Generation gap Teacher VS student

· Staff development

มีหลายเครือข่ายที่กำลังทำงานด้านนี้ เช่น Gen Ed Network of Thailand/CU เป็นเจ้าภาพ เครือข่ายอุดมศึกษา

UKM

อ.สัญชัย สรุปสามหลักในการทำงาน 3HA

Head คิด Hand ทำ Heart ใจ

นำไปสู่ Attitude, Aim, Action