วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แผนพัฒนาอุดมศึกษาฉบับที่ 11

การประชุมรับฟังความคิดเห็นแผนพัฒนาอุดมศึกษาฉบับที่ 11(2555-2559)

17 พฤศจิกายน 2554 มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฏร์ธานี



จากการเข้าร่วมประชุมเพื่อจัดทำแผนพัฒนาอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 ประโยชน์ที่ได้รับนอกเหนือจากการให้ข้อมูลย้อนกลับแล้ว ก็จะเป็นการได้รับข้อมูลการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาในภาพรวมของประเทศไทย และทราบสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้

ลองตอบดูนะคะว่าเราเองเข้าใจเรื่องแผนพัฒนาอุดมศึกษาหรือไม่
1. ประเทศไทยมีแผนการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาหรือไม่?
มี
1) ประเทศไทยมีกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปีที่ใช้อยู่ปัจจุบันเป็นฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551 – 2565)
2) ประเทศไทยมีแผนการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ปัจจุบันเป็นฉบับที่ 10( พ.ศ. 2550-2554) และกำลังจัดทำแผนฉบับที่ 11
2. แผนการพัฒนาจะถูกนำไปใช้อย่างไร?
สกอ.จะใช้เป็นแผนแม่บทและถ่ายทอดให้สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศนำไปใช้จัดทำแผนพัฒนาสถาบันของตนเอง
3. แผนที่ผ่านมามีการดำเนินการประสบความสำเร็จหรือไม่
ไม่ประสบความสำเร็จ ตัวบ่งชี้ทั้งหมดมี 26 ตัวบ่งชี้ บรรลุเป้าหมายเพียง 18 ตัวบ่งชี้ คิดเป็น69.23%
ตัวบ่งชี้ที่ไม่บรรลุเป้าหมายได้แก่ จำนวนผู้เข้าเรียนในอุดมศึกษา ตั้งเป้าหมายไว้ไม่น้อยกว่า 37% ผลการดำเนินงานได้ 35.79% , สัดส่วนผู้เข้าศึกษาอุดมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, สัดส่วนคุณวุฒิระดับปริญญาเอก, ผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษามีงานทำ, จำนวนสถาบันอุดมศึกษาได้รับการจัดอันดับในเวทีโลก, จำนวนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดตั้งเพิ่มขึ้นในช่วง 2551 – 2554, การปฏิบัติตาม พรบ. อุดมศึกษา พ.ศ…………, และ การมีศูนย์สถิติอุดมศึกษา
4. ทำไมการดำเนินการที่ผ่านมาจึงไม่ประสบความสำเร็จ
เพราะสภาพแวดล้อมมีผลต่อสถาบันอุดมศึกษา ถ้าลงในรายละเอียดก็จะมองว่ามีสภาพแวดล้อมภายในหรือปัจจัยภายใน(Strength และ Weakness) และปัจจัยภายนอก (Opportunity และ Treat)โดยการวิเคราะห์ปัจจัยภายในดูจาก 9S Analysis (Shared vision/Strategy/Structure/ System/ Staff/ Skill/ Style/ Sti(ธรรมาภิบาล)/ Stang (การเงิน)) วิเคราะห์ปัจจัยภายนอกโดยดูจาก PESTEL (Politic/ Econonic/ Social/ Technology/ Environment/ Law) จากนั้นสรุปได้ว่ามีจุดแข็ง 8 ประเด็น จุดอ่อน 10 ประเด็น โอกาส 9 ประเด็น ภาวะคุกคาม 12 ประเด็น
จุดแข็ง 8 ประเด็น:
มีระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาที่มีกฎหมายรองรับ, มีมหาวิทยาลัย 4 แห่งติดอันดับโลก, มีเครือข่ายกับสถานประกอบการที่เข้มแข็งเช่น สหกิจศึกษา, มีระบบบริหารจัดการอุดมศึกษาที่เพิ่มประสิทธิภาพ เช่น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ,อุดมศึกษาไทยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ, มีโครงการพื้นฐานระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่เชื่อมต่อทั่วประเทศ, มีการขยายโอกาสผ่านระบบไอทีเช่น มหาวทิยาลัยไซเบอร์ไทย, และ ในปี 2555 ทุกหลักสูตรจะทำตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
จุดอ่อน 10 ประเด็น:
โอกาส 9 ประเด็น:
ภาวะคุกคาม 12 ประเด็น:
ความเห็นส่วนตัวมีความเห็นว่า
1) ในการที่ทำการวิจัยและรับฟังความคิดเห็น แต่เมื่อไปทำการกำหนดแผนจริง ตัวชี้วัดมักจะไม่สะท้อนสิ่งที่ต้องการ เช่น การตั้งเป้าหมายว่า “มี” การทำงานเพียงที่เดียวก็ถือว่ามีแต่ผลกระทบต่ออุดมศึกษาของประเทศอาจไม่มากพอที่จะนำมาวัด ควรตั้งตัวชี้วัดให้เหมาะสม วัดได้จริง
2) สนับสนุนความเห็นที่ ดร.ก้านพูดในที่ประชุมว่าแผนนี้ควรมีสิ่งที่แสดงให้เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ย่ำอยู่แนวเดิม