วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

Sep 21-23,2012 Information Literacy Camp “Get to Know Uncle Sam”


สรุปเนื้อหาการเข้าค่าย Information Literacy Camp “Get to Know Uncle Sam”

21 กันยายน 2555
กิจกรรม Ice Breaking  เช่น
1.      กิจกรรมโยนบอลแล้วขอบคุณคนที่โยน ตามด้วยการแนะนำชื่อตัวเอง
2.      แบ่งกลุ่มนักศึกษาตามชื่อรัฐของอเมริกา
3.      กิจกรรมทายชื่อคนในป้ายที่แขวนไว้ด้านหลังตัวเอง
4.      Board game
ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
22 กันยายน 2555
8:30 น. นักศึกษามาสาย 3 คน สายประมาณ 5 นาที มาช้ากว่าเพื่อนโดยไม่นำคอมพิวเตอร์ สายไม่มากแต่ควรมีความกระตือรือร้นมากกว่านี้
กลยุทธ์การสืบค้นข้อมูล
วิทยากร: คุณกี้
สิ่งแรกที่ต้องคิดในการหาข้อมูลคือการใช้ Keyword
สมมติเมื่อวานลืมของไว้ จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นใคร ถ้าเรารู้ว่าเป็นนักศึกษามวล เป็นผู้หญิง จะตัดคนเหลือ 13 คน เป็นผู้หญิงผมสั้น จะเหลือ 2 คน เป็นผู้หญิงใส่แว่น จะเหลือคนเดียว
เราจึงควรหาโดยการใช้คำที่เข้าใจง่าย ใส่คำสำคัญก่อน

What do ppl in America eat?
Keyword ที่ควรจะมีคืออะไร? American eating, Food for American,
เราควรใส่คำคล้ายๆกันเข้าไปเพื่อให้ค้นง่าย

หลักการใช้ Boolean
ตัวอย่าง Find out the History of American film industry เราอาจหาคีย์เวิร์ดโดยใช้คำคล้ายๆกัน เช่น film , movie, motion picture
Activity: ให้ scorecard ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มแล้วหาคำที่คล้าย ดดยแต่ละกลุ่มได้หนึ่งคำได้แก่ child, car, use, bag, young ให้เวลาห้านาที ห้ามค้นคอมพิวเตอร์ ให้นักศึกษาออกมาอ่านคำให้ฟัง
เช่น young : not old, high school, freshy (คำนี้ไม่มีในภาษาอังกฤษจริงๆใช้คำว่า freshman), youngful ไม่มี มีแต่ youthful
Car: นักศึกษายกยี่ห้อรถมามากมายเช่น ฟอร์ด Toyota  Honda Mitsubish Isuzuและอื่นๆ,car care, van, driver(ซึ่งไม่ใช่เพราะคือคนขับรถไม่ใช่รถ)

เราควรหาคำ synonym คือคำเหมือนที่มีความหมายคล้ายกัน เราอาจจะแต่งประโยคแล้วลองแทนคำเหล่านั้นเข้าไป มันควรจะได้ความหมายเหมือนกัน
การค้นโดยใช้วลี เช่น ชื่อตัวเอง ที่มีคำขยาย college student  โดยใช้เครื่องหมายคำพูดเปิดปิด อาจลองทดลองค้นดูว่าถ้ามีและไม่มีเครื่องหมายจะได้จำนวนค้นต่างกัน
การค้นหาจากหน้าเว็บไซต์เฉพาะ(Site search)  ตัวอย่างเช่นการค้นชื่อทูตสหรัฐจากเว็บไซต์ของสถานทูต

แหล่งข้อมูล (Sources) การหาแหล่งข้อมูลควรมีแหล่งที่เชื่อถือได้ และค้นข้อมูลที่ต้องการได้
นอกเหนือจากการค้นจาก Internet ควรค้นจาก หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสารวิชาการ สารานุกรม
ให้คำถาม 10 คำถาม เพื่อพิจารณาว่าควรใช้แหล่งข้อมูลอะไรที่ไม่ใช่อินเทอร์เน็ต เช่น
อยากดูหนังจะดูข้อมูลรอบฉายได้จากที่ใด: หนังสือพิมพ์


สภาพอากาศ: วิทยุ หนังสือพิมพ์
Daylight saving คืออะไร: หนังสือ สารานุกรม
จุดยืนของโอบามาและรอนนีย์ด้านนโยบายต่างประเทศ: หนังสือพิมพ์ ทีวี
ผลของภาวะโลกร้อนต่อประเทศไทย: วารสารวิชาการ
สงครามเย็น: หนังสือ DVD
ประวัติศาสตร์อเมริกา: หนังสือ สารานุกรม
(แต่ข้อมูลที่ดึงมาไม่ใช่ทุกข้อมูลที่จะนำมาใช้ได้ทันที เราควรมีการพิจารณาเรื่องความน่าเชื่อถือ)
การค้นจาก google สามารถใช้ advanced search จะช่วยได้มาก
ลองใช้ Search Tips เพื่อตอบคำถาม
Game: การแบ่ง subject ว่าเนื้อหาแบบนี้ควรอยู่หมวดใด
แจกชื่อ category และแจกการ์ดกลุ่มละ 20 ใบ เป็นคำอธิบายสิ่งต่างๆแล้วให้เลือกเข้ากลุ่ม เช่น พูดถึงสะพาน น่าจะเข้ากลุ่มอะไร
10:40 am   Break  Milk/Cracker  Rice crispy

10:55 น. คุณอ๊อดนำเกม Whispering พรายกระซิบ
พบว่าข้อมูลเปลี่ยนไปเยอะมากJ
เกมนี้ทำให้รู้ว่าการบอกปากต่อปากทำให้ข้อมูลเปลี่ยนไปมากเพราะไม่ใช่ primary source

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

26-29 สิงหาคม 2555 ทัศนศึกษามาเลเซีย สิงคโปร์








26-29 สิงหาคม 2555 
ทริป Informatics on tour ครั้งแรกที่จัดไปถึงสิงคโปร
 ได้ไปดูงานที่ University of Malaya ได้หารือเกี่ยวกับการส่งนักศึกษาแลกเปลี่ยนระหว่างมหาวิทยาลัย

19-22 พฤษภาคม 2555 ศึกษาดูงานที่เกาหลี

ช่วงวันที่ 19-22 พฤษภาคม 2555 สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ได้ไปศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยในเกาหลีสองแห่งคือ Seoul University และ Korea University และได้เยี่ยมชมสถานที่จัดแสดงเทคโนโลยีที่น่าสนใจของเกาหลีคือ Digital Pavilion และ Korea Film Archive ได้ความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์มาก รวมถึง collaboration ที่ได้คุยไว้กับหน่วยงานที่ไปเยี่ยมชมในอนาคตค่ะ 









เดี๋ยวว่างๆจะมาเขียนคำอธิบายใต้รูปเพราะงานที่ไปดูมีอะไรน่าสนใจมาก น่าจะมาปรับใช้หรือทำที่เราได้ค่ะ

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การประชุมปฏิบัติการ เครือข่ายการศึกษาไทย


การประชุมปฏิบัติการ เครือข่ายการศึกษาไทย สกอ.ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โครงการพัฒนาบุคลากรสำหรับการบริหารจัดการเครือข่าย ตามแผนปฏิบัติงานภายใต้โครงการปฏิบัติการไทยเข้มแข็งประจำปี 2555 วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม 2555 ห้องทองจันทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เช้า เสวนาว่าจะใช้เครือข่ายอย่างไร ภาคบ่ายเป็นการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ตอบคำถาม

เครือข่ายการศึกษาไทยเป็นการขยายเครือข่ายจากการที่ UniNet ดูแลเครือข่ายมหาวิทยาลัยแล้วขยายให้กับโรงเรียน วิทยาลัยอาชีวศึกษาในชื่อ เครือข่ายการศึกษาไทย
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
รศ.ดร.ปานใจ 
เครือข่ายการศึกษาไทย NEdNet  (National Education Network) ขยายโครงข่ายมาจาด UniNet ขยายให้กับโรงเรียนในเบื้องต้นสองพันโรง อีกเจ็ดพันโรงจะอยู่ที่ปีหน้า อีกสามหมื่นกว่าโรงจะอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงศึกษาธิการเดิม
                               โรงเรียนทั่วไปจะมีเครือข่ายเดิมคือ Moe Net  ดาวเทียม Leased line/ADSL 2/4Mbps ซึ่งความเร็วไม่เพียงพอที่จะรองรับ   อาชีวิศึกษาจะมีสองโครงข่ายคือ VacNet  MoeNet  ถ้าต้องการความเร็วสูงต้องมีเงินสนับสนุนซึ่งโรงเรียนทั่วไปมีปัญหาในการหางบประมาณ
โครงข่ายแค่ไหนจึงเพียงพอสำหรับการศึกษาด้วย appicationในปัจจุบัน ?
ใช้งานทั่วๆไปร่วมกันไม่เกินสิบคนใช้ความเร็วประมาณ 10 Mbps โรงเรียนขนาดใหญ่น่าจะใช้ความเร็วประมาณ 100 Mbps มหาวิทยาลัยควรมี 1,000 Mbps ขึ้นไป
ประเทศไทยมีค่าใช้บริการอินเทอร์เน็ตสูงในอันดับแรกๆของโลก บางประเทศเช่น เกาหลี ค่าใช้เน็ตรายเดือนพันบาทจะได้ประมาณ 1000 Mbps ศธ.จึงเดินไฟเบอร์เอง จะเห็นสายพาดตามเสาไฟฟ้าที่เขียนว่า สกอ. ไปเข้าที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งแล้วต่อไปที่โรงเรียนต่างๆ   ใช้เทคโนโลยีใหม่คือ FTTS (Fiber to School) ในอนาคตหากเทคโนโลยีเปลี่ยน ด้วยไฟเบอร์สามารถปรับเปลี่ยนได้
โครงข่ายนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายใช้เพื่การศึกษา มีข้อห้ามคือ ห้ามนำโครงข่ายนี้ไปใช้เพื่อการค้า ไม่มีการ block เว็บไซต์(การปิดกั้นเป็นหน้าที่ของสถาบันที่รับผิดชอบ)
หากเน็ตเวิร์กมีปัญหาจะทำอย่างไร ต้องมีความร่วมมือในการทำงานระหว่างสถาบันระดับมหาวิทยาลัยไปถึงโรงเรียน
UniNet  มีช่องส่งออกอินเทอร์เน็ตในประเทศที่ 20 Gbps นอกประเทศมีความเร็วที่ 18 Gbps  มีการต่อไปที่ MOENet ที่ 1Gbps  จะมีการเชื่อมต่อไป Internet2 ที่ 155 Mbps JGN2(Japan) 622 Mbps   TIEN3(Asia Australia)  155 Mbps ซึ่งเราเชื่อมต่อเครือข่ายเหล่านี้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านอินเทอร์เน็ต และเนื่องจากการที่ถูกสร้างมาเป็นถนนเฉพาะจึงทำให้เราสามารถใช้เครือข่ายเพื่อการศึกษาได้อย่างรวดเร็ว(ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงใช้อินเทอร์เน็ต)
Application ในโครงข่ายทำได้หลากหลายเช่น การเรียนทางไกลแบบโต้ตอบ การประชุมสัมมนาทางไกล อีเลิร์นนิ่ง Tele-Medicine ทางจุฬาทำกับเกาหลี ศิริราชสอนร่วมกับทางปารีส เป็นต้น  web conference ประชุมได้ 128 แห่งพร้อมกัน
ThaiLIS(ค้นคว้าวิทยานิพนธ์) TeachersTV(สกอ ซื้อเนื้อหาจากอังกฤษ มาทำเป็นภาษาไทย)

โครงข่ายนี้ดำเนินการในลักษณะ พี่ช่วยน้อง เพื่อนช่วยเพื่อน
----------------------------------------------------------------------------------



ช่วงเสวนา
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ พระมงกุฎ/อาจารย์จาก มอ. อีกสองท่าน
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ พระมงกุฎ ได้ใช้คอมพิวเตอร์ระดับมินิคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สามสิบปีที่แล้ว ปัจจุบันมีการเก็บข้อมูลที่ดีทำให้คนประมาณหกพันคนในโรงพยาบาลทำงานโดยมีข้อผิดพลาดน้อย โดยใช้ไอทีมาช่วย โดยเฉพาะด้านการเงิน ใช้อินเทอร์เน็ตหลากหลาย แต่เมื่อมีปัญหาจะยังคงติดต่อศูนย์คอมฯ ในการใช้งานของผู้ใช้ได้ใช้อินเทอร์เน็ตมากโดยเฉพาะนักศึกษาในขณะที่อาจารย์บางท่านอาจจะไม่นิยมใช้ ถือว่าการใช้ไอทีของพระมงกุฎอยู่ระดับมัธยม ผู้ใช้ไม่คำนึงถึงอินเทอร์เน็ตแต่ใช้งานในลักษณะที่เป็นสิ่งประกอบในชีวิต
------------------------------------------------------------------------------------------------
อ.สินชัย มอ.
กลุ่มคณะทำงาน IPv6-UniNet   UniNet Research Activities
อาจารย์ทำวิจัยเรื่องอินเทอร์เน็ต IPv6 เพื่อแทนเวอร์ชั่นสี่ซึ่งหมดไปแล้วในทวีปเอเชีย วันที่ 6 เดือน 6 เป็นต้นไป Google ก็จะใช้ IPv6 ได้ใช้เครือข่าย UniNet เพื่อการเชื่อมต่อไปต่างประเทศซึ่งหากไม่มีเครือข่ายนี้ก็จำทำไม่ได้เพราะค่าใช้จ่ายสูงมากเพราะต้องติดต่อกับไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี ตัวอย่างการทดสอบเช่น การควบคุมรถบังคับผ่านอินเทอร์เน็ตจากไต้หวัน-PSU  / Live E! project เช่น ติดตั้งตรวจวัดสภาพอากาศแบบเวลาจริงที่สงขลาเป็นต้น / SOI(School on Net) เครือข่ายการศึกษาที่นำอาจารย์สอนแล้วส่งไปยังสมาชิกที่ประเทศต่างๆ / การเรียนการสอนและการให้คำปรึกษาทางคลินิกแบบเสมือนจริง(Wireless BioSensor  Monitoring)  / การเชื่อมโยงเครือข่ายโรงพยาบาล

อาจารย์แนะนำเว็ย Khan Academy เป็นเว็บไซต์คณิตศาสตร์ที่ดีที่สุด

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ.ฐานิดา(?) มอ.

IT+Education+Utilization
ประโยชน์ทางการศึกษา นัศึกษาก็ใช้การเล่นเกมส์เก็บผักผลไม้ใช้ในการทำกายภาพบำบัด

ปัญหาก็มีเยอะมาก เดิมการใช้อินเทอร์เน็ตเมื่อปี 2530 เมื่อเชื่อมรเก็ยต่ออีเมล์ได้ ก็ต้องอาศัยอาจารย์นักวิจัยเป็นลูกค้าที่จะใช้งาน ซึ่งมีค่าโทรทางไกลแพงแต่ทางออสเตรเลียจ่ายให้
ปัจจุบันนักศึกษาคุณภาพลดลงเยอะมาก เพลินกับการเล่นเน็ต ขาดทักษะในการเขียนเพราะใช้การ copy&paste ใช้เวลาในแต่ละวันในการเล่นเน็ตหลายชั่วโมง

ทาง มอ. มีการ monitor ว่ามีการใช้งานเน็ตเพื่อเข้าเว็บไซต์ประเภทใด พบว่าส่วนใหญ่เป็นเว็บไม่เหมาะสม เกมส์ การใช้เพื่อการเรียนรู้มาเป็นอันดับสามซึ่งมีจำนวนต่างกันมาก  โรงเรียนก็ควรเก็บ log file ตรวจสอบ user

---------------------------------------------------------------------------------------------------

To do:
1.       เครือข่ายในการเรียนการสอน เราควรใช้ UniNet แล้ว เสถียร และไม่มีปัญหาในการเชื่อมต่อ
2.       ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน หากมี MOU เราสามารถใช้โครงข่ายได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เราต้องการติดต่อที่ใดบ้าง มวล.ควรได้ใช้ประโยชน์จากจุดนี้
dทางศูนย์คอมฯ