วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การประชุมปฏิบัติการ เครือข่ายการศึกษาไทย


การประชุมปฏิบัติการ เครือข่ายการศึกษาไทย สกอ.ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โครงการพัฒนาบุคลากรสำหรับการบริหารจัดการเครือข่าย ตามแผนปฏิบัติงานภายใต้โครงการปฏิบัติการไทยเข้มแข็งประจำปี 2555 วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม 2555 ห้องทองจันทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เช้า เสวนาว่าจะใช้เครือข่ายอย่างไร ภาคบ่ายเป็นการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ตอบคำถาม

เครือข่ายการศึกษาไทยเป็นการขยายเครือข่ายจากการที่ UniNet ดูแลเครือข่ายมหาวิทยาลัยแล้วขยายให้กับโรงเรียน วิทยาลัยอาชีวศึกษาในชื่อ เครือข่ายการศึกษาไทย
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
รศ.ดร.ปานใจ 
เครือข่ายการศึกษาไทย NEdNet  (National Education Network) ขยายโครงข่ายมาจาด UniNet ขยายให้กับโรงเรียนในเบื้องต้นสองพันโรง อีกเจ็ดพันโรงจะอยู่ที่ปีหน้า อีกสามหมื่นกว่าโรงจะอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงศึกษาธิการเดิม
                               โรงเรียนทั่วไปจะมีเครือข่ายเดิมคือ Moe Net  ดาวเทียม Leased line/ADSL 2/4Mbps ซึ่งความเร็วไม่เพียงพอที่จะรองรับ   อาชีวิศึกษาจะมีสองโครงข่ายคือ VacNet  MoeNet  ถ้าต้องการความเร็วสูงต้องมีเงินสนับสนุนซึ่งโรงเรียนทั่วไปมีปัญหาในการหางบประมาณ
โครงข่ายแค่ไหนจึงเพียงพอสำหรับการศึกษาด้วย appicationในปัจจุบัน ?
ใช้งานทั่วๆไปร่วมกันไม่เกินสิบคนใช้ความเร็วประมาณ 10 Mbps โรงเรียนขนาดใหญ่น่าจะใช้ความเร็วประมาณ 100 Mbps มหาวิทยาลัยควรมี 1,000 Mbps ขึ้นไป
ประเทศไทยมีค่าใช้บริการอินเทอร์เน็ตสูงในอันดับแรกๆของโลก บางประเทศเช่น เกาหลี ค่าใช้เน็ตรายเดือนพันบาทจะได้ประมาณ 1000 Mbps ศธ.จึงเดินไฟเบอร์เอง จะเห็นสายพาดตามเสาไฟฟ้าที่เขียนว่า สกอ. ไปเข้าที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งแล้วต่อไปที่โรงเรียนต่างๆ   ใช้เทคโนโลยีใหม่คือ FTTS (Fiber to School) ในอนาคตหากเทคโนโลยีเปลี่ยน ด้วยไฟเบอร์สามารถปรับเปลี่ยนได้
โครงข่ายนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายใช้เพื่การศึกษา มีข้อห้ามคือ ห้ามนำโครงข่ายนี้ไปใช้เพื่อการค้า ไม่มีการ block เว็บไซต์(การปิดกั้นเป็นหน้าที่ของสถาบันที่รับผิดชอบ)
หากเน็ตเวิร์กมีปัญหาจะทำอย่างไร ต้องมีความร่วมมือในการทำงานระหว่างสถาบันระดับมหาวิทยาลัยไปถึงโรงเรียน
UniNet  มีช่องส่งออกอินเทอร์เน็ตในประเทศที่ 20 Gbps นอกประเทศมีความเร็วที่ 18 Gbps  มีการต่อไปที่ MOENet ที่ 1Gbps  จะมีการเชื่อมต่อไป Internet2 ที่ 155 Mbps JGN2(Japan) 622 Mbps   TIEN3(Asia Australia)  155 Mbps ซึ่งเราเชื่อมต่อเครือข่ายเหล่านี้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านอินเทอร์เน็ต และเนื่องจากการที่ถูกสร้างมาเป็นถนนเฉพาะจึงทำให้เราสามารถใช้เครือข่ายเพื่อการศึกษาได้อย่างรวดเร็ว(ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงใช้อินเทอร์เน็ต)
Application ในโครงข่ายทำได้หลากหลายเช่น การเรียนทางไกลแบบโต้ตอบ การประชุมสัมมนาทางไกล อีเลิร์นนิ่ง Tele-Medicine ทางจุฬาทำกับเกาหลี ศิริราชสอนร่วมกับทางปารีส เป็นต้น  web conference ประชุมได้ 128 แห่งพร้อมกัน
ThaiLIS(ค้นคว้าวิทยานิพนธ์) TeachersTV(สกอ ซื้อเนื้อหาจากอังกฤษ มาทำเป็นภาษาไทย)

โครงข่ายนี้ดำเนินการในลักษณะ พี่ช่วยน้อง เพื่อนช่วยเพื่อน
----------------------------------------------------------------------------------



ช่วงเสวนา
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ พระมงกุฎ/อาจารย์จาก มอ. อีกสองท่าน
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ พระมงกุฎ ได้ใช้คอมพิวเตอร์ระดับมินิคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สามสิบปีที่แล้ว ปัจจุบันมีการเก็บข้อมูลที่ดีทำให้คนประมาณหกพันคนในโรงพยาบาลทำงานโดยมีข้อผิดพลาดน้อย โดยใช้ไอทีมาช่วย โดยเฉพาะด้านการเงิน ใช้อินเทอร์เน็ตหลากหลาย แต่เมื่อมีปัญหาจะยังคงติดต่อศูนย์คอมฯ ในการใช้งานของผู้ใช้ได้ใช้อินเทอร์เน็ตมากโดยเฉพาะนักศึกษาในขณะที่อาจารย์บางท่านอาจจะไม่นิยมใช้ ถือว่าการใช้ไอทีของพระมงกุฎอยู่ระดับมัธยม ผู้ใช้ไม่คำนึงถึงอินเทอร์เน็ตแต่ใช้งานในลักษณะที่เป็นสิ่งประกอบในชีวิต
------------------------------------------------------------------------------------------------
อ.สินชัย มอ.
กลุ่มคณะทำงาน IPv6-UniNet   UniNet Research Activities
อาจารย์ทำวิจัยเรื่องอินเทอร์เน็ต IPv6 เพื่อแทนเวอร์ชั่นสี่ซึ่งหมดไปแล้วในทวีปเอเชีย วันที่ 6 เดือน 6 เป็นต้นไป Google ก็จะใช้ IPv6 ได้ใช้เครือข่าย UniNet เพื่อการเชื่อมต่อไปต่างประเทศซึ่งหากไม่มีเครือข่ายนี้ก็จำทำไม่ได้เพราะค่าใช้จ่ายสูงมากเพราะต้องติดต่อกับไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี ตัวอย่างการทดสอบเช่น การควบคุมรถบังคับผ่านอินเทอร์เน็ตจากไต้หวัน-PSU  / Live E! project เช่น ติดตั้งตรวจวัดสภาพอากาศแบบเวลาจริงที่สงขลาเป็นต้น / SOI(School on Net) เครือข่ายการศึกษาที่นำอาจารย์สอนแล้วส่งไปยังสมาชิกที่ประเทศต่างๆ / การเรียนการสอนและการให้คำปรึกษาทางคลินิกแบบเสมือนจริง(Wireless BioSensor  Monitoring)  / การเชื่อมโยงเครือข่ายโรงพยาบาล

อาจารย์แนะนำเว็ย Khan Academy เป็นเว็บไซต์คณิตศาสตร์ที่ดีที่สุด

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อ.ฐานิดา(?) มอ.

IT+Education+Utilization
ประโยชน์ทางการศึกษา นัศึกษาก็ใช้การเล่นเกมส์เก็บผักผลไม้ใช้ในการทำกายภาพบำบัด

ปัญหาก็มีเยอะมาก เดิมการใช้อินเทอร์เน็ตเมื่อปี 2530 เมื่อเชื่อมรเก็ยต่ออีเมล์ได้ ก็ต้องอาศัยอาจารย์นักวิจัยเป็นลูกค้าที่จะใช้งาน ซึ่งมีค่าโทรทางไกลแพงแต่ทางออสเตรเลียจ่ายให้
ปัจจุบันนักศึกษาคุณภาพลดลงเยอะมาก เพลินกับการเล่นเน็ต ขาดทักษะในการเขียนเพราะใช้การ copy&paste ใช้เวลาในแต่ละวันในการเล่นเน็ตหลายชั่วโมง

ทาง มอ. มีการ monitor ว่ามีการใช้งานเน็ตเพื่อเข้าเว็บไซต์ประเภทใด พบว่าส่วนใหญ่เป็นเว็บไม่เหมาะสม เกมส์ การใช้เพื่อการเรียนรู้มาเป็นอันดับสามซึ่งมีจำนวนต่างกันมาก  โรงเรียนก็ควรเก็บ log file ตรวจสอบ user

---------------------------------------------------------------------------------------------------

To do:
1.       เครือข่ายในการเรียนการสอน เราควรใช้ UniNet แล้ว เสถียร และไม่มีปัญหาในการเชื่อมต่อ
2.       ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน หากมี MOU เราสามารถใช้โครงข่ายได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เราต้องการติดต่อที่ใดบ้าง มวล.ควรได้ใช้ประโยชน์จากจุดนี้
dทางศูนย์คอมฯ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น