วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การจัดการความรู้ องค์การสวนยาง





28 สิงหาคม 2556 มีโอกาสไปเป็นวิทยากรอบรมเรื่องการจัดการความรู้ที่องค์การสวนยาง นาบอน เนื่องจากที่นี่มีการอบรม KM มาบ้างแล้ว แต่จะไม่ได้มีการเก็บความรู้ในเชิงปฏิบัติจริง ครั้งนี้จึงใช้วิธีการสกัดความรู้จากผู้ทำงานแต่ละฝ่าย ให้ตั้งประเด็นความรู้ที่ต้องการจัดการของแต่ละกลุ่มซึ่งจะต้องสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์  โดยมีกิจกรรมและเนื้อหาดังนี้
  • —      Before Action Review (BAR)
  • —      แนวคิดเบื้องต้นของการจัดการความรู้
  • —      ขั้นตอนการดำเนินการในเรื่องการจัดการความรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติจริงในองค์กรตัวอย่าง
  •       —แนวทางในการประเมินความพร้อมขององค์กรด้านการจัดการความรู้
  •       —ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และปัญหาอุปสรรค
  •       —การจัดทำแผนการจัดการความรู้
  •       After Action Review(AAR) ร่วมเสนอแนะและแสดงความคิดเห็น

มีผู้เข้าสัมมนาประมาณ 40 คน ได้แบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม จับประเด็นได้ 5 ประเด็น ซึ่งได้ให้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แล้วออกมานำเสนองาน ผลงานที่ได้ให้จัดพิมพ์ และเก็บเป็นแฟ้มไว้ที่ส่วนกลางเพื่อให้เผยแพร่ต่อไป  มีประเด็นที่น่าสนใจ เช่น การทำชุดความรู้อธิบายเนื้อหาในการนำชมโรงงานฝ่ายผลิต  การนำชมศูนย์การเรียนรู้   เปอร์เซ็นประเภทการใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ยางพารา  เทคนิคในการกรีดยางให้มีประสิทธิภาพ  และความรู้ในการแก้ปัญหาหน้ายางแห้งซึ่งสามารถนำไปทำการทดลองต่อแล้วรวบรวมข้อมูลเป็นความรู้เพิ่มเติมได้อีก

การประชุมรับฟังร่างเกณฑ์มาตรฐานวิชาศึกษาทั่วไป

ประเด็นจากการประชุมรับฟังร่างเกณฑ์มาตรฐานวิชาศึกษาทั่วไป
24 สิงหาคม 2556
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่


งานนี้คณะกรรมการร่างมาตรฐานได้จัดเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่างมาตรฐานวิชาศึกษาทั่วไป  จะมีเวทีนี้ทุกภูมิภาค




คำถามและความเห็นประเด็นทั่วไป
·         ภาพรวมไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ จริงๆแล้วมีส่วนใดที่ต่าง
o   คำตอบจากคณะทำงาน: โครงสร้างชัดเจนขึ้น มีการจัดหมวดหมู่ที่ชัดเจน Learning Outcome เป็นรูปธรรมมากขึ้น
·         ของใหม่ให้ความสำคัญกับมิติของการเปลี่ยนแปลง มีความหลากหลาย ตระหนักในคนที่แตกต่างมี dynamic แต่ที่ขาดคือ ไปขยายความคำว่าคุณธรรมมากขึ้นแต่ขาดเรื่อง communication  ของเดิมใส่ใจสุขภาพร่างกายด้วย  ของใหม่ใช้คำกว้างไป เช่น สรรพสิ่ง ซึ่งอาจต้องขยายความ
หมวดที่ 1 นิยาม
1.       คำว่า “ใส่ใจกับการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง” ค่อนข้างหลวม ไม่สื่อมากนัก เสนอคำว่า เข้าใจในการเปลี่ยนแปลง”
2.       เสนอคำว่า “การรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง”   ความมีเหตุผล ควรมีอยู่ ใช้คำว่า “การดำรงตนอยู่ในความเหมาะสมดีงาม” แทน .”ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม”
3.       การสะท้อนว่าเราให้อะไรแก่สังคมไม่ค่อยมี ควรมีเรื่องการสร้างประโยชน์ให้สังคม ควรทำให้คนอื่น
4.       ควรเพิ่ม “พร้อมให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์”  น่าจะมี “ช่วยเหลือสัตว์ สิ่งแวดล้อม”
5.       ไม่มีเรื่องจิตสาธารณะ น่าจะใช้คำว่า สำนึกทางสังคม ซึ่งจะรวมทุกอย่าง 
“ใส่ใจ...” น่าจะเป็น “สำนึกในเรื่องของการเปลี่ยนแปลง” และคำว่า “พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง....” ยังคงต้องมีอีกหรือไม่หากใช้คำว่า สำนึก... แล้ว
6.       ประเด็นเรื่องการใช้คำ นักศึกษาปัจจุบันเป็น gen Y เป็นผู้ใช้มากกว่าผู้สร้าง เสนอให้เพิ่ม “การตระหนักถึงผลของสิ่งที่ทำต่อสังคมและผู้อื่น รวมถึงต้องมีความรับผิดชอบ”
คำว่า รู้ เข้าใจ  ใส่ใจ  เป็น verb ที่ไม่แสดงถึงการกระทำ น่าจะใช้คำเช่น การแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ การกล้าแสดงออก การยอมรับ มีความรับผิดชอบ
7.       การเขียนไล่ลำดับดี เสนอให้ใช้คำที่กระชับ ควรมีคำ เช่น สำนึกรับผิดชอบในความเป็นพลโลก
8.       อยากให้มีเรื่อง ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีสุขภาพกาย ใจ
9.       เสนอ “ดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข” “รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม”  อยากให้ใช้ “...มีสันติสุข”
10.   เรากำลังทำสวนทางกับสิ่งที่ อ.บัณฑิตบอกหรือไม่ ไม่ควรล็อคตัวเอง อยากให้เขียน “หมวดวิชาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์”
หมวดที่ 2 ผลการเรียนรู้
1.       เรื่องที่ปรากฏในหมวดที่ 2 ไม่มีในนิยาม
คำว่า คิดแบบองค์รวม ตีความได้หลากหลาย เป็นอย่างไร
2.       ยังเสนอว่าให้มีเรื่องสุขภาพกาย
3.        ควรมีเรื่อง สำนึกในประวัติศาสตร์ (ทาง floor เห็นว่าข้อนี้อยู่ใน outcome ที่ 1 อยู่แล้ว)
4.       ควรเปลี่ยนจากคำว่า ธรรมชาติ เป็น สิ่งแวดล้อม
5.       ยังอยากให้มีคำว่าธรรมชาติอยู่
6.       LO บางทักษะวัดผลยาก จะวัดได้อย่างไร เช่น การดำเนินชีวิต การคิดแบบองค์รวม
7.       คำว่า สังคมพหุวัฒนธรรม สวยอยู่แล้ว เห็นด้วย
8.       การตีความคำว่า พหุวัฒนธรรม แต่ละศาสตร์ตีความแตกต่าง เคยเจอที่หมายถึง การแลกเปลี่ยนและย้ายถิ่น
9.       ขยายความเชิงมานุษยวิทยา พหุวัฒนธรรม เป็นความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกัน เราอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นอย่างไร
10.   ควรมีคำว่า รู้จัก เห็นคุณค่าของตนเอง  ควร focus คำว่าธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หมวดที่ 3
1.       โครงสร้าง GE ที่เป็น credit based  เป็นไปได้หรือไม่ที่จะวัดจากกิจกรรมนักศึกษา หรือใช้ exit exam เทียบโอนหน่วยกิตด้วยประสบการณ์
2.       เห็นด้วยกับการบูรณาการ แต่ต้องคำถึงด้วยว่า บางครั้งขึ้นกับ inside ของผู้ที่จะมาบูรณาการซึ่งบางครั้งก็ยาก
3.       เราเพิ่มโน่นนี่มากไปหรือไม่ จะกลายเป็นวิชาเฉพาะหรือไม่
4.       การเรียนน่าจะมีทั้งชั่วโมงที่เข้าเรียนและชั่วโมงกิจกรรม  ไม่ใช่เรียนอย่างเดียว

หมวดที่ 4
มีการแชร์ประสบการณ์ว่าวิชาฝึกงาน เคยให้ S/U เช่นกัน แต่ในที่สุดก็กลับมาเป็นเกรด เพราะจะได้นำไปคำนวณ GPA

หมวดที่ 5

การมีหน่วยงานผู้กำกับดูแลนับเป็นสิ่งที่ดี

วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

18-21/3/2556 Service Science Management and Engineering (SSME)


วันที่ 18-21 มีนาคม 2556 ได้มีโอกาสเข้าอบรม “Train for The Trainer” โครงการบ่มเพาะและเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อป้อนสู่อุตสาหกรรม หลักสูตร Service Science Management and Engineering (SSME) ที่สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) ที่ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ วิทยากรมาจากบริษัท IBM ได้ความรู้น่าสนใจมาก และคาดว่าจะได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนต่อไป เนื้อหาแบ่งออกเป็น 5 วัน

Ø  การอบรมครอบคลุมเรื่องใด
ทาง SIPA ชี้แจงวัตถุประสงค์ว่า จัดขึ้นเพื่อให้ธุรกิจใกล้ชิดการศึกษามากขึ้น IBM มีองค์ความรู้ในการทำ project ใหญ่ จะมี case studies หลากหลาย PM เป็นจุดอ่อนของการทำงานอย่างมาก
เนื้อหาจะครอบคลุม Application Development and Maintenance Services, IT Project Management in Practice, Applied Test Methodology & Technique for IT Services, Business Analyst for IT Service Implementation, Big data, Business Intelligence Solutions, Mobile Application and cloud computing.
ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้ เป็นที่คาดหวังว่าจะได้รับการถ่ายทอดไปให้นักศึกษา เช่นในการทำโครงงาน ไม่ใช่คิดแค่การเขียนโปรแกรมแต่ต้องมองภาพในการบริหารจัดการโครงการ
Ø  IBM บริหารจัดการโครงการอย่างไร
IBM มีการใช้ IBM use Process Asset Library based on CMMI. Compatible to CMMI level  3 at least (Defined)  

Ø  IBM มีกลุ่มที่ทำงานกับโครงการในหน้าที่ใดบ้าง
Project Management/SEPG/PQA  ซึ่งในส่วนที่มาอบรมจะเป็นกลุ่มที่ดูแล service ในกรณีที่จัดทำ new application จะมีทีมที่ทำเบื้องต้น เมื่อ engage ได้ จะส่งต่อมาให้ทีมนี้เพื่อดูแล

Ø  Process Improvement is not a continuous journey not a destination/ W. Edwards Deming
เป็นสิ่งที่ต้องทำตลอดเวลา
Ø  Service Level Agreement (SLA) คืออะไร  
คือข้อตกลงเรื่อง Key service ที่เราต้อง Achieve ถ้าไม่สำเร็จจะมีบทลงโทษ เช่นการปรับ
Ø  IBM ใช้ Project Management tools ใดบ้าง
1.       Estimation : Wide Band Delphi
2.       Project plan: Microsoft Project
3.       WPI tracking: Microsoft Project
4.       Management log
5.       Customer status report
6.       Project Completion report

Ø  สิ่งที่นักศึกษาจะบริหารโครงการวิชาโครงงาน คิดว่าต้องทำอะไรบ้าง
1.       Proposal
2.       Work Break down structure
3.       Estimation
4.       Activity Plan
a.       Start from Gantt chart
b.      Assign resources to task
c.       Set dependency
d.      Check another view(Resource, Network)
e.      Adjust
f.        Set milestone,  baseline
g.       Track project
5.       Risk Management
6.       Weekly report
7.       Documentary repository
8.       Project Completion Report

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โครงการฝึกอบรมเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ


โครงการฝึกอบรมเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ(EdPEx)
เครือข่าย C_IQA ภาคใต้ตอนบน
26 กุมภาพันธ์ 2556 มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

รศ. พญ. นันทนา ศิริทรัพย์ (วิทยากรบรรยายได้ดีมาก สนุกสนานและเข้าใจง่าย  อาจารย์แพทย์จากจุฬา)
 เกณฑ์ลักษณะนี้ถ้าไม่ปฏิบัติก็จะต้องตก เหมือนวิชาแคลคูลัส  เรื่องบางเรื่องต้อง
เนื้อหาจะครอบคลุม 2 ส่วนคือ  พัฒนาการ  ทำไมจึงกลายมาเป็น EdPEx  และ หลักการของ ExPEx
1.       พัฒนาการของระบบประกันคุณภาพการศึกษาไทย
2.       เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ Education Criteria for Performance Excellence(EdPEx)
·         QA เริ่มเข้ามาในบ้านเราปี 2539 ทบวงประกาศนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา
·         ระบบQA ประเทศไทย มีแบบภายในและภายนอก  เราต้องการให้ไปถึงการตรวจสอบประเมินเทียบกับมาตรฐานสากล   ซึ่งไม่ง่าย
·         การประกันคุณภาพภายในและภายนอกมีการเชื่อมโยงกันที่จุดไหน ที่รายงานประจำปี ถ้าเราฉายภาพที่ถูกต้องขององค์กร คนที่มาประเมินจะเห็นของจริง  จึงขึ้นกับหน่วยงานว่าต้องการได้รับข้อมูลป้อนกลับที่เป็นของจริงแค่ไหน   เราต้องคิดเองว่าจะทำแค่ไหน   เราควรอยู่แบบ “กินอยู่อย่างพอเพียง ชื่อเสียงก้องโลก”
·         กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (2551-2565) พูดถึงการยกระดับอุดมศึกษาไทย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในโลกาภิวัฒน์ โดยมีการนำ EdPEx มาใช้
EdPEx 2552-2553     TQA 2555-2556    Balrige (Edu Version) 2013-2014

https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSG6XwwMRcr_fgT233Jxix-bv4dnW9rit9_yhs4p2VyHQChokrK   http://sctqa.files.wordpress.com/2010/10/tqa_criteria_2012-2013_thai_edition.jpg?w=730  https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQbIwASaPSvVe3OMdULXh03A4l3RAVlB7YMIZGRSVPmBv2S3B_c

ถ้าใช้เกณฑ์ตัวนี้ดียังไง?
ดีที่ทำให้เราได้อยู่แถวหน้า outcome based , result based

เกณฑ์นี้จะช่วยสถาบันท่านได้อย่างไร?
มีแนวทางในการดำเนินการอย่างบูรณาการ

เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ Education Criteria for Performance Excellence (EdPEx)
เป็นบรรทัดฐานสำหรับการดูแลทั้งองค์กร ไม่ใช่เป็นหย่อมๆ
เกณฑ์ประกอบด้วยคำถาม มี 7 หมวดคือ การนำองค์กร การวางแผนกลยุทธ์ การมุ่งเน้นลูกค้าและการตลาด การวัดวิเคระห์และการจัดการความรู้ การมุ่งเน้นบุคลากร การจัดการกระบวนการ และผลลัพธ์ 
The Education Criteria are a set of questions about seven critical aspects of managing and performing as an organization:
1.     Leadership
2.     Strategic planning
3.     Customer focus
4.     Measurement, analysis, and knowledge management
5.     Workforce focus
6.     Operations focus
7.     Results

EdPEx เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2546 เริ่มประเมินที่คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล  ( แพทย์จุฬาตอนที่ทำครั้งแรกได้ 700 จาก 1000 ต่อมาเมื่อทำเปรียบเทียบครั้งต่อๆไปเหลือร้อยเศษๆ)

พื้นฐานของเกณฑ์ มาจากค่านิยมหลักและแนวคิด ซึ่งมีหลากหลาย ได้แก่
1.       การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์
2.       การเป็นเลิศที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ 
3.       การเรียนรู้ขององค์กรและของแต่ละคน  มหาวิทยาลัยของเรามีสิ่งใดที่เป็นเลิศ
4.       การให้ความสำคัญกับคณาจารย์ บุคลากรและเพื่อร่วมงาน เราดูแลให้คนของเรามีความสุขพร้อมที่จะทำงานให้เราหรือไม่
5.       ความคล่องตัว องค์กรเรามีความคล่องตัวแค่ไหน เช่น ในห้องสอนไม่มีสายต่อคอมพิวเตอร์ การเบิกเงินซื้อของราคาไม่แพงแต่ต้องเขียนเบิกหลายฟอร์ม
6.       การมุ่งเน้นอนาคต การที่เราปรับหลักสูตรทุก 5 ปี เพราะเราสร้างบัณฑิตเพื่ออนาคต ไม่ใช่สร้างนักประวัติศาสตร์
7.       การจัดการเพื่อนวัตกรรม เราควรทำสิ่งใหม่ๆ
8.       การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง
9.       ความรับผิดชอบต่อสังคม
10.   การมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และการสร้างคุณค่า
11.   มุมมองในเชิงระบบ
ถ้าเชื่อทั้งหมดนี้ให้กลับไปอ่านเกณฑ์ เพราะเกณฑ์เหล่านั้นสร้างมาจากความเชื่อเหล่านี้
เกณฑ์มีทั้งหมด 7 หมวด
edpex framework.PNG

เกณฑ์นี้มีคุณลักษณะสำคัญอยู่ 4 เรื่อง
1.       เกณฑ์นี้เน้นผลลัพธ์  รู้ได้อย่างไร  หมวด 7 ให้คะแนนถึง 450 จาก 1000 คะแนน
2.       เกณฑ์ไม่กำหนดวิธีการและวิธีใช้ ของบางอย่างดีสำหรับคนหนึ่งแต่อาจจะไม่ดีสำหรับอีกคน สถาบันหนึ่งใช้ดำเนินการอาจไม่ดีสำหรับสถาบันอื่น
3.       เกณฑ์สนับสนุมมุมมองเชิงระบบ ถ้าแก้ปัญหาไฟไหม้ถ้าแก้ปัญหาโดยการดับไฟอาจได้คะแนนแค่ 0-5% ถ้าคิดจะพัฒนาโดยการติดท่อฉีดน้ำให้มากขึ้น ฉีดน้ำได้เร็วขึ้น อาจได้ 10-25%  ถ้าศึกษาประเมินห้องที่เสี่ยงต่ออัคคีภัย ติดเซ็นเซอร์ ติด springer คะแนนได้ 30-45%  ถ้าติดทั้งระบบเป็น systemwide ได้ 50-65%   ถ้าทำโดยไม่ให้มีไฟเกิดขึ้น เช่น ใช้วัสดุกันไฟ ทำระบบป้องกัน อาจได้จาก 70-100%
4.        เกณฑ์สนับสนุนเป้าประสงค์

ในเรื่องของกระบวนการ เกณฑ์นี้ไม่ใช้คำว่า PDCA  แต่ใช้คำว่า ADLI  Approach-Deployment-Learning-
Integration การวางแผนซึ่งรวมการออกแบบ การเลือกตัววัดและการถ่ายทอดเพื่อนำไหปฏิบัติ  การปฏิบัติตามแผน  การประเมินความก้าวหน้าและการได้มาซึ่งความรู้ใหม่  การปรับแผนโดยบูรณาการจากผลการประเมิน การเรียนรู้ ปัจจัยนำเข้าใหม่ ข้อกำหนดใหม่ รวมทั้งโอกาสในการสร้างนวัตกรรม
ในการบูรณาการ  เราต้องมองเป้าประสงค์ ทำให้เป็นระบบ มุ่งไปในทางเดียวกัน  สิ่งที่ดีที่สุดคือไปในทางเดียวกั น มีการเสริมกำลังกันตลอดเวลา แทนที่จะใช้แรงคนเดียว เราอาจใช้แรงร่วมกัน  ถ้าเราทำสอดคล้องกัน ผลลัพธ์ย่อมจะออกมามาก
ในส่วนของผลลัพธ์
ปัจจัยที่เราจะดูกันคือ 4 เรื่องนี้ เรียกภาษาอังกฤษว่า LeTCi  เล็ตซี
1.       ระดับผลการดำเนินการ (Level) ได้ตามเป้าหมายระดับใด  มีคนยิงธนูเห็นเป้าที่ยิงถูกตรงกลางตลอดเวลา ซึ่งเป็นฝีมือเด็ก เด็กบอกว่า ก็ผมมาวาดเป้าทีหลัง  คล้ายๆที่ เราหลอกสมศ.ด้วยวิธีการแบบนี้
2.       แนวโน้ม (Trend)
3.       การเปรียบเทียบ (Comparison) เรามีคู่เปรียบเทียบหรือไม่ ถ้าเราเป็นเลิศที่สุดให้หันไปมองคนข้างหลังแล้วทิ้งห่าง โดยดูระยะห่าง
4.       ความครอบคลุมและความสำคัญของผลลัพธ์ (Integration) เช่น บางสถาบัน จำนวนรวมการรับนักศึกษาสูง แต่ถ้าไปดูรายคณะ จะพบว่าบางคณะยอดรับต่ำมาก
ทำแบบสอบถาม “เรามีความก้าวหน้าหรือไม่” ถามเกี่ยวกับสภาพการทำงานของเราใน 7 หมวดตาม EdPEx