วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โครงการฝึกอบรมเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ


โครงการฝึกอบรมเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ(EdPEx)
เครือข่าย C_IQA ภาคใต้ตอนบน
26 กุมภาพันธ์ 2556 มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

รศ. พญ. นันทนา ศิริทรัพย์ (วิทยากรบรรยายได้ดีมาก สนุกสนานและเข้าใจง่าย  อาจารย์แพทย์จากจุฬา)
 เกณฑ์ลักษณะนี้ถ้าไม่ปฏิบัติก็จะต้องตก เหมือนวิชาแคลคูลัส  เรื่องบางเรื่องต้อง
เนื้อหาจะครอบคลุม 2 ส่วนคือ  พัฒนาการ  ทำไมจึงกลายมาเป็น EdPEx  และ หลักการของ ExPEx
1.       พัฒนาการของระบบประกันคุณภาพการศึกษาไทย
2.       เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ Education Criteria for Performance Excellence(EdPEx)
·         QA เริ่มเข้ามาในบ้านเราปี 2539 ทบวงประกาศนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา
·         ระบบQA ประเทศไทย มีแบบภายในและภายนอก  เราต้องการให้ไปถึงการตรวจสอบประเมินเทียบกับมาตรฐานสากล   ซึ่งไม่ง่าย
·         การประกันคุณภาพภายในและภายนอกมีการเชื่อมโยงกันที่จุดไหน ที่รายงานประจำปี ถ้าเราฉายภาพที่ถูกต้องขององค์กร คนที่มาประเมินจะเห็นของจริง  จึงขึ้นกับหน่วยงานว่าต้องการได้รับข้อมูลป้อนกลับที่เป็นของจริงแค่ไหน   เราต้องคิดเองว่าจะทำแค่ไหน   เราควรอยู่แบบ “กินอยู่อย่างพอเพียง ชื่อเสียงก้องโลก”
·         กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (2551-2565) พูดถึงการยกระดับอุดมศึกษาไทย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในโลกาภิวัฒน์ โดยมีการนำ EdPEx มาใช้
EdPEx 2552-2553     TQA 2555-2556    Balrige (Edu Version) 2013-2014

https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSG6XwwMRcr_fgT233Jxix-bv4dnW9rit9_yhs4p2VyHQChokrK   http://sctqa.files.wordpress.com/2010/10/tqa_criteria_2012-2013_thai_edition.jpg?w=730  https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQbIwASaPSvVe3OMdULXh03A4l3RAVlB7YMIZGRSVPmBv2S3B_c

ถ้าใช้เกณฑ์ตัวนี้ดียังไง?
ดีที่ทำให้เราได้อยู่แถวหน้า outcome based , result based

เกณฑ์นี้จะช่วยสถาบันท่านได้อย่างไร?
มีแนวทางในการดำเนินการอย่างบูรณาการ

เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ Education Criteria for Performance Excellence (EdPEx)
เป็นบรรทัดฐานสำหรับการดูแลทั้งองค์กร ไม่ใช่เป็นหย่อมๆ
เกณฑ์ประกอบด้วยคำถาม มี 7 หมวดคือ การนำองค์กร การวางแผนกลยุทธ์ การมุ่งเน้นลูกค้าและการตลาด การวัดวิเคระห์และการจัดการความรู้ การมุ่งเน้นบุคลากร การจัดการกระบวนการ และผลลัพธ์ 
The Education Criteria are a set of questions about seven critical aspects of managing and performing as an organization:
1.     Leadership
2.     Strategic planning
3.     Customer focus
4.     Measurement, analysis, and knowledge management
5.     Workforce focus
6.     Operations focus
7.     Results

EdPEx เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2546 เริ่มประเมินที่คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล  ( แพทย์จุฬาตอนที่ทำครั้งแรกได้ 700 จาก 1000 ต่อมาเมื่อทำเปรียบเทียบครั้งต่อๆไปเหลือร้อยเศษๆ)

พื้นฐานของเกณฑ์ มาจากค่านิยมหลักและแนวคิด ซึ่งมีหลากหลาย ได้แก่
1.       การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์
2.       การเป็นเลิศที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ 
3.       การเรียนรู้ขององค์กรและของแต่ละคน  มหาวิทยาลัยของเรามีสิ่งใดที่เป็นเลิศ
4.       การให้ความสำคัญกับคณาจารย์ บุคลากรและเพื่อร่วมงาน เราดูแลให้คนของเรามีความสุขพร้อมที่จะทำงานให้เราหรือไม่
5.       ความคล่องตัว องค์กรเรามีความคล่องตัวแค่ไหน เช่น ในห้องสอนไม่มีสายต่อคอมพิวเตอร์ การเบิกเงินซื้อของราคาไม่แพงแต่ต้องเขียนเบิกหลายฟอร์ม
6.       การมุ่งเน้นอนาคต การที่เราปรับหลักสูตรทุก 5 ปี เพราะเราสร้างบัณฑิตเพื่ออนาคต ไม่ใช่สร้างนักประวัติศาสตร์
7.       การจัดการเพื่อนวัตกรรม เราควรทำสิ่งใหม่ๆ
8.       การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง
9.       ความรับผิดชอบต่อสังคม
10.   การมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และการสร้างคุณค่า
11.   มุมมองในเชิงระบบ
ถ้าเชื่อทั้งหมดนี้ให้กลับไปอ่านเกณฑ์ เพราะเกณฑ์เหล่านั้นสร้างมาจากความเชื่อเหล่านี้
เกณฑ์มีทั้งหมด 7 หมวด
edpex framework.PNG

เกณฑ์นี้มีคุณลักษณะสำคัญอยู่ 4 เรื่อง
1.       เกณฑ์นี้เน้นผลลัพธ์  รู้ได้อย่างไร  หมวด 7 ให้คะแนนถึง 450 จาก 1000 คะแนน
2.       เกณฑ์ไม่กำหนดวิธีการและวิธีใช้ ของบางอย่างดีสำหรับคนหนึ่งแต่อาจจะไม่ดีสำหรับอีกคน สถาบันหนึ่งใช้ดำเนินการอาจไม่ดีสำหรับสถาบันอื่น
3.       เกณฑ์สนับสนุมมุมมองเชิงระบบ ถ้าแก้ปัญหาไฟไหม้ถ้าแก้ปัญหาโดยการดับไฟอาจได้คะแนนแค่ 0-5% ถ้าคิดจะพัฒนาโดยการติดท่อฉีดน้ำให้มากขึ้น ฉีดน้ำได้เร็วขึ้น อาจได้ 10-25%  ถ้าศึกษาประเมินห้องที่เสี่ยงต่ออัคคีภัย ติดเซ็นเซอร์ ติด springer คะแนนได้ 30-45%  ถ้าติดทั้งระบบเป็น systemwide ได้ 50-65%   ถ้าทำโดยไม่ให้มีไฟเกิดขึ้น เช่น ใช้วัสดุกันไฟ ทำระบบป้องกัน อาจได้จาก 70-100%
4.        เกณฑ์สนับสนุนเป้าประสงค์

ในเรื่องของกระบวนการ เกณฑ์นี้ไม่ใช้คำว่า PDCA  แต่ใช้คำว่า ADLI  Approach-Deployment-Learning-
Integration การวางแผนซึ่งรวมการออกแบบ การเลือกตัววัดและการถ่ายทอดเพื่อนำไหปฏิบัติ  การปฏิบัติตามแผน  การประเมินความก้าวหน้าและการได้มาซึ่งความรู้ใหม่  การปรับแผนโดยบูรณาการจากผลการประเมิน การเรียนรู้ ปัจจัยนำเข้าใหม่ ข้อกำหนดใหม่ รวมทั้งโอกาสในการสร้างนวัตกรรม
ในการบูรณาการ  เราต้องมองเป้าประสงค์ ทำให้เป็นระบบ มุ่งไปในทางเดียวกัน  สิ่งที่ดีที่สุดคือไปในทางเดียวกั น มีการเสริมกำลังกันตลอดเวลา แทนที่จะใช้แรงคนเดียว เราอาจใช้แรงร่วมกัน  ถ้าเราทำสอดคล้องกัน ผลลัพธ์ย่อมจะออกมามาก
ในส่วนของผลลัพธ์
ปัจจัยที่เราจะดูกันคือ 4 เรื่องนี้ เรียกภาษาอังกฤษว่า LeTCi  เล็ตซี
1.       ระดับผลการดำเนินการ (Level) ได้ตามเป้าหมายระดับใด  มีคนยิงธนูเห็นเป้าที่ยิงถูกตรงกลางตลอดเวลา ซึ่งเป็นฝีมือเด็ก เด็กบอกว่า ก็ผมมาวาดเป้าทีหลัง  คล้ายๆที่ เราหลอกสมศ.ด้วยวิธีการแบบนี้
2.       แนวโน้ม (Trend)
3.       การเปรียบเทียบ (Comparison) เรามีคู่เปรียบเทียบหรือไม่ ถ้าเราเป็นเลิศที่สุดให้หันไปมองคนข้างหลังแล้วทิ้งห่าง โดยดูระยะห่าง
4.       ความครอบคลุมและความสำคัญของผลลัพธ์ (Integration) เช่น บางสถาบัน จำนวนรวมการรับนักศึกษาสูง แต่ถ้าไปดูรายคณะ จะพบว่าบางคณะยอดรับต่ำมาก
ทำแบบสอบถาม “เรามีความก้าวหน้าหรือไม่” ถามเกี่ยวกับสภาพการทำงานของเราใน 7 หมวดตาม EdPEx