วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การจัดการความรู้ องค์การสวนยาง





28 สิงหาคม 2556 มีโอกาสไปเป็นวิทยากรอบรมเรื่องการจัดการความรู้ที่องค์การสวนยาง นาบอน เนื่องจากที่นี่มีการอบรม KM มาบ้างแล้ว แต่จะไม่ได้มีการเก็บความรู้ในเชิงปฏิบัติจริง ครั้งนี้จึงใช้วิธีการสกัดความรู้จากผู้ทำงานแต่ละฝ่าย ให้ตั้งประเด็นความรู้ที่ต้องการจัดการของแต่ละกลุ่มซึ่งจะต้องสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์  โดยมีกิจกรรมและเนื้อหาดังนี้
  • —      Before Action Review (BAR)
  • —      แนวคิดเบื้องต้นของการจัดการความรู้
  • —      ขั้นตอนการดำเนินการในเรื่องการจัดการความรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติจริงในองค์กรตัวอย่าง
  •       —แนวทางในการประเมินความพร้อมขององค์กรด้านการจัดการความรู้
  •       —ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และปัญหาอุปสรรค
  •       —การจัดทำแผนการจัดการความรู้
  •       After Action Review(AAR) ร่วมเสนอแนะและแสดงความคิดเห็น

มีผู้เข้าสัมมนาประมาณ 40 คน ได้แบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม จับประเด็นได้ 5 ประเด็น ซึ่งได้ให้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แล้วออกมานำเสนองาน ผลงานที่ได้ให้จัดพิมพ์ และเก็บเป็นแฟ้มไว้ที่ส่วนกลางเพื่อให้เผยแพร่ต่อไป  มีประเด็นที่น่าสนใจ เช่น การทำชุดความรู้อธิบายเนื้อหาในการนำชมโรงงานฝ่ายผลิต  การนำชมศูนย์การเรียนรู้   เปอร์เซ็นประเภทการใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ยางพารา  เทคนิคในการกรีดยางให้มีประสิทธิภาพ  และความรู้ในการแก้ปัญหาหน้ายางแห้งซึ่งสามารถนำไปทำการทดลองต่อแล้วรวบรวมข้อมูลเป็นความรู้เพิ่มเติมได้อีก

การประชุมรับฟังร่างเกณฑ์มาตรฐานวิชาศึกษาทั่วไป

ประเด็นจากการประชุมรับฟังร่างเกณฑ์มาตรฐานวิชาศึกษาทั่วไป
24 สิงหาคม 2556
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่


งานนี้คณะกรรมการร่างมาตรฐานได้จัดเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่างมาตรฐานวิชาศึกษาทั่วไป  จะมีเวทีนี้ทุกภูมิภาค




คำถามและความเห็นประเด็นทั่วไป
·         ภาพรวมไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ จริงๆแล้วมีส่วนใดที่ต่าง
o   คำตอบจากคณะทำงาน: โครงสร้างชัดเจนขึ้น มีการจัดหมวดหมู่ที่ชัดเจน Learning Outcome เป็นรูปธรรมมากขึ้น
·         ของใหม่ให้ความสำคัญกับมิติของการเปลี่ยนแปลง มีความหลากหลาย ตระหนักในคนที่แตกต่างมี dynamic แต่ที่ขาดคือ ไปขยายความคำว่าคุณธรรมมากขึ้นแต่ขาดเรื่อง communication  ของเดิมใส่ใจสุขภาพร่างกายด้วย  ของใหม่ใช้คำกว้างไป เช่น สรรพสิ่ง ซึ่งอาจต้องขยายความ
หมวดที่ 1 นิยาม
1.       คำว่า “ใส่ใจกับการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง” ค่อนข้างหลวม ไม่สื่อมากนัก เสนอคำว่า เข้าใจในการเปลี่ยนแปลง”
2.       เสนอคำว่า “การรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง”   ความมีเหตุผล ควรมีอยู่ ใช้คำว่า “การดำรงตนอยู่ในความเหมาะสมดีงาม” แทน .”ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม”
3.       การสะท้อนว่าเราให้อะไรแก่สังคมไม่ค่อยมี ควรมีเรื่องการสร้างประโยชน์ให้สังคม ควรทำให้คนอื่น
4.       ควรเพิ่ม “พร้อมให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์”  น่าจะมี “ช่วยเหลือสัตว์ สิ่งแวดล้อม”
5.       ไม่มีเรื่องจิตสาธารณะ น่าจะใช้คำว่า สำนึกทางสังคม ซึ่งจะรวมทุกอย่าง 
“ใส่ใจ...” น่าจะเป็น “สำนึกในเรื่องของการเปลี่ยนแปลง” และคำว่า “พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง....” ยังคงต้องมีอีกหรือไม่หากใช้คำว่า สำนึก... แล้ว
6.       ประเด็นเรื่องการใช้คำ นักศึกษาปัจจุบันเป็น gen Y เป็นผู้ใช้มากกว่าผู้สร้าง เสนอให้เพิ่ม “การตระหนักถึงผลของสิ่งที่ทำต่อสังคมและผู้อื่น รวมถึงต้องมีความรับผิดชอบ”
คำว่า รู้ เข้าใจ  ใส่ใจ  เป็น verb ที่ไม่แสดงถึงการกระทำ น่าจะใช้คำเช่น การแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ การกล้าแสดงออก การยอมรับ มีความรับผิดชอบ
7.       การเขียนไล่ลำดับดี เสนอให้ใช้คำที่กระชับ ควรมีคำ เช่น สำนึกรับผิดชอบในความเป็นพลโลก
8.       อยากให้มีเรื่อง ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีสุขภาพกาย ใจ
9.       เสนอ “ดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข” “รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม”  อยากให้ใช้ “...มีสันติสุข”
10.   เรากำลังทำสวนทางกับสิ่งที่ อ.บัณฑิตบอกหรือไม่ ไม่ควรล็อคตัวเอง อยากให้เขียน “หมวดวิชาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์”
หมวดที่ 2 ผลการเรียนรู้
1.       เรื่องที่ปรากฏในหมวดที่ 2 ไม่มีในนิยาม
คำว่า คิดแบบองค์รวม ตีความได้หลากหลาย เป็นอย่างไร
2.       ยังเสนอว่าให้มีเรื่องสุขภาพกาย
3.        ควรมีเรื่อง สำนึกในประวัติศาสตร์ (ทาง floor เห็นว่าข้อนี้อยู่ใน outcome ที่ 1 อยู่แล้ว)
4.       ควรเปลี่ยนจากคำว่า ธรรมชาติ เป็น สิ่งแวดล้อม
5.       ยังอยากให้มีคำว่าธรรมชาติอยู่
6.       LO บางทักษะวัดผลยาก จะวัดได้อย่างไร เช่น การดำเนินชีวิต การคิดแบบองค์รวม
7.       คำว่า สังคมพหุวัฒนธรรม สวยอยู่แล้ว เห็นด้วย
8.       การตีความคำว่า พหุวัฒนธรรม แต่ละศาสตร์ตีความแตกต่าง เคยเจอที่หมายถึง การแลกเปลี่ยนและย้ายถิ่น
9.       ขยายความเชิงมานุษยวิทยา พหุวัฒนธรรม เป็นความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกัน เราอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นอย่างไร
10.   ควรมีคำว่า รู้จัก เห็นคุณค่าของตนเอง  ควร focus คำว่าธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หมวดที่ 3
1.       โครงสร้าง GE ที่เป็น credit based  เป็นไปได้หรือไม่ที่จะวัดจากกิจกรรมนักศึกษา หรือใช้ exit exam เทียบโอนหน่วยกิตด้วยประสบการณ์
2.       เห็นด้วยกับการบูรณาการ แต่ต้องคำถึงด้วยว่า บางครั้งขึ้นกับ inside ของผู้ที่จะมาบูรณาการซึ่งบางครั้งก็ยาก
3.       เราเพิ่มโน่นนี่มากไปหรือไม่ จะกลายเป็นวิชาเฉพาะหรือไม่
4.       การเรียนน่าจะมีทั้งชั่วโมงที่เข้าเรียนและชั่วโมงกิจกรรม  ไม่ใช่เรียนอย่างเดียว

หมวดที่ 4
มีการแชร์ประสบการณ์ว่าวิชาฝึกงาน เคยให้ S/U เช่นกัน แต่ในที่สุดก็กลับมาเป็นเกรด เพราะจะได้นำไปคำนวณ GPA

หมวดที่ 5

การมีหน่วยงานผู้กำกับดูแลนับเป็นสิ่งที่ดี