วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2560

การทำงานวิจัย

การทำงานวิจัย
รศ.ดร. นิรันดร มาแทน
25 กันยายน 2560 10.00 -12.00 น. ห้องประชุม 1 อาคารวิชาการ 3

คำถามที่ควรถามตัวเอง
1. อาจารย์มหาวิทยาลัยต้องทำงานวิจัยหรือไม่? จึงมีคำถามต่อเนื่องว่า แล้วมหาวิทยาลัยคืออะไร คือ knowledge ที่เรามี สิ่งที่เราไม่รู้หรือ unาnown ยังมีอีกมากมาย ถึงแม้ความรู้จะขยายออกตลอดเวลา ในระดับอุดมศึกษาต้องเลือกเรียนไปด้านใดด้านหนึ่ง ยิ่งถ้าเป็นระดับปริญญาเอก ยิ่งต้องเจาะลึก หัวข้อต้องเล็กมิฉะนั้นจะทำไม่ไหว คืออยู่ที่ Frontier of knowledge ต้องไปในส่วนที่เป็น unknown เพื่อหาสิ่งใหม่ การทำวิจัยในสิ่งที่รู้ผลอยู่แล้วจะไม่ได้ประโยชน์

2. เราทำวิจัยไปเพื่ออะไร อะไรคือเป้าหมายการทำงานวิจัย? เพื่อมีผลงานหรือ? อย่างนั้นจะเป็นความรู้ที่แห้งแล้งมาก ตัวอย่างการให้ทุนการศึกษานักศึกษาปริญญาเอกของครอบครัวหนึ่งที่มีลูกชายมีปัญหาสุขภาพ ยังหาทางรักษาไม่ได้ การทำวิจัยเพื่องานแบบนี้ ไม่แห้งแล้งเหมือนการทำเพื่อให้มีผลงาน บางเรื่องอธิบายยาก ที่จำให้ง่ายอาจผิดได้ ไม่พูดให้ง่ายจนผิด การอยู่แถว frontier จะดี เป็นแนวหน้า การทำงานวิจัยท้องถิ่นก็สามารถลงลึกได้ แต่การทำอะไรที่สุดโต่งก็ไม่ควร เช่นกรณี The Fallen Idol ของเกาหลีที่มี fake research เพราะ prof. ก็มีปัญหาเรื่องทุน และ facility ไม่เหมาะสม เช่น ไฟดับ และจำเป็นต้องผิดทุนให้ทัน
เราเองก็ต้องอย่าให้มีสิ่งมาบีบเราให้ตีพิมพ์ เพราะหากงานของเราทำแล้วมา repeat ไม่ได้ งานนั้นไม่จริง
แสดงว่ามีสิ่งที่อยู่ตรงกลาง การจะพูดว่า เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง ผลงานตีพิมพ์ก็เป็นมายา แต่ต้องใช้ให้เหมาะสม ความรู้เพื่อมนุษยชาติคือของจริง เราต้องรู้ว่าเราจะทำวิจัยไปเพื่ออะไร เราต้องมีความสามารถที่จะหาความรู้ใหม่ เรามีความสุขที่จะหาความรู้ใหม่หรือไม่
อย่าทำตามระเบียบที่ยอมรับไม่ได้ เช่น การที่นับผลงานเฉพาะผู้ที่พิมพ์ผลงานเป็นชื่อแรก
Supervisor ไม่ควรใส่ชื่อตัวเองเป็นชื่อแรกในผลงาน thesis ของนักศึกษา ระเบียบเช่นนี้ไม่เหมาะสม

3. เลือกหัวข้อวิจัยอย่างไร ทำงานวิจัยอย่างไร(ปัจเจก) ปัญหาเป็นตัวกำหนดคุณค่าของงาน เพราะปัญหานั้นจะมีคุณค่าต่างกันขึ้นกับว่าเราไปแก้ปัญหาใด คำถามจึงต้อง challenge หากเรากลัวไม่สำเร็จ แล้วเลือกจะแก้ปัญหาที่แก้ง่ายๆ ความก้าวหน้าของเราจึงไม่ไปไหน จุดอ่อนของเราคือไม่สอนให้ตั้งโจทย์ เราฝึกแก้โจทย์ ไม่ว่าจะซับซ้อนแค่ไหนก็เป็นการแก้โจทย์ เราสามารถฝึกได้โดยการออกข้อสอบพร้อมเฉลย เป็นโจทย์ open
การเรียงตัวของคาร์บอนที่ต่างกันคือสิ่งที่ถ่านและเพชรแตกต่างกัน เราเคยเรียนกันว่ามี 2 ฟอร์ม แต่มีคนสงสัย เมื่อทำการอาร์กคาร์บอนจะได้คาร์บอนพันธะเดี่ยวออกมา ที่น่าสงสัยคือ C นั้นมี 60 ตัว เป็นพันธะเดี่ยวจะเรียงตัวแบบไหน ผู้วิจัยได้เห็นงานของสถาปนิกที่มีโครงสร้างเป็นทรงกลม จึงพบว่าคาร์บอนแบบนี้เรียงตัวเป็นทรงกลม สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงทางแพทย์ นอกจากนี้ยังมีโครงสร้างเช่น Graphene กรณีนี้หัวข้อวิจัยมาจากการคิดนอกกรอบ ไม่เชื่อสิ่งที่รู้อยู่แล้ว สารสนเทศควอนตัมเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ยาก แม้แต่ไอสไตน์ก็ไม่ยอมรับ ชโรดิงเจอร์ก็ไม่ยอมรับ จึงสร้างการทดลองในความคิดตัวหนึ่งคือ Schrodinger’s cat อยู่ในกล่องที่มีกล่องกัมมันภาพรังสีซึ่งถ้าสลายจะไปทำให้กลไกไปกระทบให้มีแก๊สพิษฆ่าแมวได้ เพราะเขาเกลียดแมว เมื่ออยู่ในกล่องแมวจะมีสถานะเป็นและตายพร้อมๆกัน จนกว่าเมื่อไรที่เราเปิดกล่องจึงจะบอกได้ว่าแมวเป็นหรือตาย

การทำวิจัยจำเป็นต้องมีการตีพิมพ์ เพื่อห้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ในวงกว้าง

4. เลือกหัวข้อวิจัยอย่างไร ทำงานวิจัยอย่างไร(องค์รวม)
Bird’s eye view เราจะมองเห็นภาพรวม ถ้าเราไม่เห็นภาพรวม เราอาจหลงทาง เราต้องรู้ว่าเราทำงานวิจัยอยู่ที่จุดใด
Collaboration เมื่อก่อนเราจะทำวิจัย ทำเรื่องเดียวให้ดี เดี๋ยวนี้จึงมีเรื่องของ collabortion ต้องวางแผนตั้งแต่ต้นว่าภาพรวมเป็นอย่างไร การทำงานที่ดีผู้ทำงานสำคัญคือนักศึกษาโท เอก
Continuation คุณธรรมสำคัญกว่าความสามารถ
Non-profit organization เดิมงบส่วนใหญ่มาจากรัฐบาล เพราะธุรกิจมักจะซื้อเทคโนโลยีสำเร็จรูปจากต่างประเทศ เพราะฉะนั้นสถาบันวิชาการควรสร้างวิชาการที่เชื่อถือได้ให้สามารถใช้ได้ มหาวิทยาลัยต่างประเทศมักจะทำเช่นนี้
ควรสร้างโครงการที่ท้าทาย วาง position ที่เหมาะสมสำหรับอนาคต

5. เราจะมีความสุขได้อย่างไรกับการทำงานวิจัย Huge Everett พูดถึงแนวคิด Many worlds ซึ่ง Niels Bohr ไม่เห็นด้วย John Wheeler เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาผู้ขอเอาชื่อตัวเองออกจากผลงานตีพิมพ์ การวิจัยบางครั้งก็เป็นโศกนาฏกรรมเช่นกรณีของ Rosalind Franklin บางครั้งผลงานวิจัยก็เป็นที่ยอมรับเมื่อตายไปแล้ว เพราะฉะนั้นความสุขในการวิจัยควรจะต้องอยู่มีความสุขในการหาความรู้ และไม่ควรจะตกขอบไปด้านใดด้านหนึ่ง เราควรต้องทำงานวิจัยเชิงลึกและนำไปใช้ประโยชน์ได้ การทำงานอาจมีบางครั้งที่เราจะมีความกดดัน กระบวนการอาจไม่ใช่ linear แตะอาจพรั่งพรูมาตอนจบ เราต้องลุย นำหน้าฝ่าทางไป ต้องมี Concentration ธรรมชาติของการเรียนต้อง concentrate ถ้าเรียน parttime จะมีปัญหามาก




ประเด็นที่ควรจดจำ
  1. การทำวิจัยจะเป็น Frontier of knowledge เราต้องไปในส่วนที่เป็น unknown เพื่อหาสิ่งใหม่ การทำวิจัยในสิ่งที่รู้ผลอยู่แล้วจะไม่ได้ประโยชน์
  2. การทำวิจัย ผลงานตีพิมพ์ก็เป็นมายา แต่ต้องใช้ให้เหมาะสม ความรู้เพื่อมนุษยชาติคือของจริง เราต้องรู้ว่าเราจะทำวิจัยไปเพื่ออะไร เราต้องมีความสามารถที่จะหาความรู้ใหม่ เรามีความสุขที่จะหาความรู้ใหม่หรือไม่ อย่าทำตามระเบียบที่ยอมรับไม่ได้
  3. ปัญหาเป็นตัวกำหนดคุณค่าของงาน เพราะปัญหานั้นจะมีคุณค่าต่างกันขึ้นกับว่าเราไปแก้ปัญหาใด คำถามจึงต้อง challenge หากเรากลัวไม่สำเร็จ แล้วเลือกจะแก้ปัญหาที่แก้ง่ายๆ ความก้าวหน้าของเราจึงไม่ไปไหน
  4. ในการทำวิจัยควรมองเห็นภาพรวมว่าเราอยู่ที่ไหน ควรมีการทำงานใรรูปแบบ collaboration สถาบันวิชาการควรสร้างวิชาการที่เชื่อถือได้ให้ภาคธุรกิจสามารถใช้ได้ และควรสร้างโครงการที่ท้าทาย วาง position ที่เหมาะสมสำหรับอนาคต
  5. ความสุขในการวิจัยควรจะต้องอยู่มีความสุขในการหาความรู้ และไม่ควรจะตกขอบไปด้านใดด้านหนึ่ง เราควรต้องทำงานวิจัยเชิงลึกและนำไปใช้ประโยชน์ได้

วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2560

UKPSF

ไม่ได้มาบันทึกในบล็อกนี้นานมาก  แต่จริงๆยังคงบันทึกอยู่ในกลุ่มอื่นๆ  เป็นการดีถ้าจะนำมารวมๆไว้แถวนี้นะคะ  :)

UKPSF
30 สิงหาคม 2560
วันนี้เข้าอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่อง กรอบมาตรฐานวิชาชีพ The UK Professional Standards Framework (UKPSF) ของ The Higher Education Academy (HEA) เรื่อง UKPSF จะเป็นเรื่องที่ม.วลัยลักษณ์ให้ความสำคัญเพื่อระบบพัฒนาสมรรถนะด้านการเรียนการสอนสำหรับอาจารย์

สามารถอ่านรายละเอียดของ UKPSF ได้จากลิงก์นี้ค่ะ https://www.heacademy.ac.uk/…/uk_professional_standards_fra…

Framework นี้จะแบ่งออกเป็น 3 มิติ คือมิติด้านกิจกรรม(Areas of Activity) มิติด้านความรู้หลัก(Core Knowledge) และมิติด้านค่านิยมทางวิชาชีพ(Professional Values)

โดยจะแบ่งระดับผู้สอนออกเป็นสี่ระดับคือ
D1- Associate Fellow - New to teaching สำหรับคนที่ไม่เคยสอนเลย สายสนับสนุนก็สามารถเข้าสู่ catagory นี้ได้
D2- Fellow
D3- Senior Fellow เช่น ระดับหัวหน้าสาขา
D4- Principal Fellow
โดยการที่จะดูว่าเราอบู่ในระดับใดต้องดูจากรายละเอียด Descriptor ของแต่ละระดับ
เช่น ถ้าเราจะบอกว่าเราอยู่ระดับ D2 เราต้องมีหลักฐานว่าเรามีในสิ่งเหล่านี้
Descriptor 2 Typical individual role/career stage Related HEA recognition
Demonstrates a broad understanding of effective approaches to teaching and learning support as key contributions to high quality student learning. Individuals should be able to provide evidence of:
I. Successful engagement across all fives areas of activity
II. Appropriate knowledge and understanding across all aspects of Core Knowledge
III. A commitment to all the Professional Values
IV. Successful engagement in appropriate teaching practices related to the Areas of Activity
V. Successful incorporation of subject and pedagogic research and/or scholarship within the above activities, as part of an integrated approach to academic practice
VI. Successful engagement in continuing professional development in relation to teaching, learning, assessment and, where appropriate, related professional practices
Individuals able to provide evidence of broadly based effectiveness in more substantive teaching and supporting learning role(s). Such individuals are likely to be established members of one or more academic and/or academic-related teams.
Typically, those likely to be at Descriptor 2 (D2) include:
a. Early career academics
b. Academic-related and/or support staff holding substantive teaching and learning responsibilities
c. Experienced academics relatively new to UK higher education
d. Staff with (sometimes significant) teaching-only responsibilities including, for example, within
work-based settings
โดยรายละเอียดการเตรียมหลักฐาน สามารถดูได้จากลิงก์นี้ค่ะ https://www.heacademy.ac.uk/…/afhea-guidance-for-applicants…
สำหรับที่ มทส. มีคอร์สอบรมชื่อ STARS (SUT Teaching Academics Recognition Scheme) เป็น Best Practice ที่น่าสนใจเพราะทำเป็นที่แรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจาก HEA ในระดับ D1