วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การประชุมชี้แจงการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2553

การประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ

ห้องประชุม 1 อาคารวิจัย

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2553 9:00 - 12:00 น.

9:25 น. ผศ.ดร. เกียรติกำจร กุศล บรรยาย

เหตุที่ต้องประกันคุณภาพเนื่องจากมี พรบ. การศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. /2545 (ดูมาตรา47,48,49,50,และ 51 ) แผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2565) และกฎกระทรวงเน้น QA หลายมาตรา

การประกันคุณภาพภายนอก เน้น output/outcome

การประกันคุณภาพภายใน เน้น process


พรบ.บอกอะไรเราบ้าง

1. บอกว่าประกอบด้วยระบบใด พรบ. การศึกษาแห่งชาติจะบอกว่าระบบ QAประกอบด้วยQAภายในและภายนอก (ม. 47)

2. บอกว่าให้ใครทำ ทำอย่างไร (ม. 48)

3. บอกว่าใครจะมาประเมินและสถานศึกษาต้องทำอย่างไรในการประเมินนั้น (ม. 49และ 50)

4. บอกว่าถ้าประเมินไม่ผ่านจะทำอย่างไร (ม. 51)


อาจารย์เกียรติกำจรให้ภาพรวมเรื่องหลักการในการพัฒนาตัวบ่งชี้ประกันคุณภาพ สกอ. ทั้ง 9 องค์ประกอบ ซึ่งจะประเมินปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิตและผลลัพธ์ โดยมีความสมดุลระหว่างมุมมองการบริหารจัดการทั้ง 4 ด้านคือ ด้านนักศึกษาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านกระบวนการภายใน ด้านการเงิน และด้านบุคลากร การเรียนรู้และนวัตกรรม โดยกระบวนการประเมินมี 4 ขั้นตอนตามระบบพัฒนาคุณภาพ PDCA และในปีะนี้จะต้องทำการประเมินลงถึงระดับหลักสูตร โดยใช้ระบบ CHE Online

ปีนี้ประเมินองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ 9 องค์ประกอบ 25 ตัวบ่งชี้

จากนั้น รศ.ดร. มนตรี อิสรไกรศีล บรรยายต่อ โดยอาจารย์ลงรายละเอียดแต่ละตัวบ่งชี้ว่าเมื่อถูกประเมินจะประเมินจากสิ่งใด ในส่วนนี้ความเห็นส่วนตัวเห็นว่าแต่ละหน่วยงานทราบว่าควรจะใส่ข้อมูลใด แต่มักจะไม่ได้เก็บข้อมูลนั้นไว้ครบถ้วนล่วงหน้า จึงไม่มีหรือไม่ได้ใส่ทุกอย่างที่ทำ

สามารถดูรายละเอียดคู่มือทั้งหมดได้จากเว็บ สกอ. http://www.mua.go.th/users/bhes/front_home/IQA-on%20web/IQA%20Manual%202010%20(November2010)121153.pdf

และมหาวิทยาลัยจัดทำเอกสารสำหรับการประเมินทั้งของ สกอ. สมศ. และ มวล.

ข้อมูลที่ได้รับการยืนยันในที่ประชุมจากการชี้แจงและการถามตอบ

1. อาจารย์ธีรยุทธ ชี้แจงให้ทุกหน่วยงานส่งข้อมูลให้เร็วเพราะปีที่แล้วเราช้าไป

2. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เสนอตัวเองอยู่ในกลุ่ม ค .2 ( กลุ่ม ค สถาบันเฉพาะทาง หมายความถึง สถาบันที่เน้นการผลิตบัณฑิตเฉพาะทางหรือเฉพาะกลุ่มสาขาวิชา ทั้งสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ สังคมศาสตร์หรือมนุษยศาสตร์ รวมทั้งสาขาวิชาชีพเฉพาะทาง สถาบันอาจเน้นการทำวิทยานิพนธ์หรือการวิจัย หรือเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะในการประกอบอาชีพระดับสูง หรือเน้นทั้งสองด้าน รวมทั้งสถาบันอาจมีบทบาทในการพัฒนาภาคการผลิตจริงทั้งอุตสาหกรรมและบริการ สถาบันในกลุ่มนี้อาจจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะคือ ลักษณะที่ 1 เป็นสถาบันที่เน้นระดับบัณฑิตศึกษา และลักษณะที่ 2 เป็นสถาบันที่เน้นระดับปริญญาตรี)

3. การจัดทำ SAR ลงถึงระดับหลักสูตร

4. อ.ธรรมศักดิ์: ผู้ประเมินไม่รู้จักมหาวิทยาลัย ส่วนกลางต้องทำความเข้าใจกับเขา ฐานข้อมูลกลางต้องมีชัดเจน เราไม่ควรต้องดูรายละเอียดเล็กๆมากนัก เช่น การติดต่อกับศิษย์เก่า ศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จ เรามีส่วนนี้น้อย ส่วนกลางต้องช่วยมากกว่านี้ อย่าถามทุกอย่างจากสำนักวิชา

5. อ.ชลธิรา: เสริมจาก อ.ธรรมศักดิ์ และห่วงใย สกอ. 2.8 การเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้นักศึกษา สกอ.มีแนวปฏิบัติชัดเจนในข้ออื่นยกเว้นข้อนี้ (อ.เกียรติกำจร ชี้แจงว่า เพราะเป็น output ไม่ใช่กระบวนการ)จากเงื่อนไข เกณฑ์ที่มี เราไม่น่าจะทำได้ สายสังคมศาสตร์หนักใจที่จะตอบโจทย์นี้

6. อ.ทิพย์วัลย์: มุมมองผู้ปฏิบัติ เราเหลือเวลาแค่เทอม3 ข้อมูล empirical ไม่มีปัญหา มองต่างจากคณบดีทั้งสองท่าน คือเห็นว่า ความเข้มแข็งอยู่ที่สำนัก สำนักอาจไม่ค่อยตระหนักจึงไปก๊อปของส่วนกลาง สำนักควรมีแผนของสำนัก ส่วนเรื่องคุณธรรมจริยธรรมเป็นเรื่องใหญ่ ส่วนกิจการน.ศ. จัดประชุมดูตัวเลขแยกได้รายสำนัก(ส่วนส่งเสริมให้ข้อมูลว่าประชุมแล้ว) อยากเห็นว่าหลักสูตรทำอะไรบ้าง จะทำรวมบริการประสานภารกิจจะฟิตได้ไม่ทั้งหมด เฉพาะบางเรื่องส่วนกิจอาจให้งบที่สำนักไปดูแลเองก็ได้เพราะนักศึกษาแต่ละหลักสูตรมีความต้องการและความเหมาะสมในการดำเนินการต่างกัน)

อ.สุวัจนา : เห็นด้วยกับ อ.ทิพย์วัลย์ มองว่าสำนักต้องใส่ใจในโครงการต่างๆที่ทำ บางเรื่องมองว่ายุ่งยากเพราะไม่รู้ว่าเขาประเมินอย่างไร เช่น การนัดพบศิษย์เก่าและขอข้อเสนอแนะจากศิษย์เก่า ซึ่งเราทำอยู่ ถ้าเราทำเพิ่มอีกเล็กน้อยคือทำเป็นโครงการ ก็จะได้ข้อมูลครบถ้วน บางเรื่องเราอาจทำไม่ได้เพราะผลของมันอาจไม่เกิดขึ้นในปีนั้น มหาวิทยาลัยควรชัดเจนว่างานใดที่ส่วนกลางทำ งานใดสำนักทำ

อ.ธรรมศักดิ์: ชี้แจงให้ชัดเจน เห็นว่างานทั้งหมดเป็นงานของสำนักวิชา แต่การนำเสนอควรต้องเป็นภาพรวม

คุณอวยพร ส่วนส่งเสริม แจ้งว่าวัตถุประสงค์การประชุมวันนี้เพื่อ ให้ทุกคนทราบกลไกในภาพรวม ในการประสานงาน ส่วนกลางควรเป็นตัวเชื่อมโยง ก็ได้ทำการดูข้อมูลร่วมกันกับส่วนกิจ และศิลปวัฒนธรรม จะเป็นข้อมูลกลาง ด้านการวิจัย บริการวิชาการก็จะทำเช่นเดียวกัน สำนักวิชาจะทำโดยไม่รอ template ก็ทำได้ล่วงหน้า

ส่วนรูปข้างล่างนี้ เจ้าสำนักดิฉันเอง บ่งบอกว่าสำนักเราให้ความสนใจเรื่องประกันคุณภาพเป็นอย่างยิ่ง ลูกสำนักก็พลอยใส่ใจกันเข้มข้นไปด้วย


ส่วนนี่ก็อาจารย์สาวสวยจากศิลปศาสตร์ ผู้ทำหน้าตั้งอกตั้งใจฟังรายละเอียดการบรรยาย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น