วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การประชุมสัมมนาทิศทางและแนวทางของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย

การประชุมสัมมนาทิศทางและแนวทางของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย

19 – 20 พฤษภาคม 2554 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์


ผศ. สุพรรณี สมบูรณ์ธรรม

9:15 น. การกล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดงาน

TCU ตั้งในปี 2547 และเจริญก้าวหน้าตลอดมา แต่ละปีจะรับฟังความต้องการของสถาบัน เพื่อพัฒนาการศึกษาชาติโดยใช้ E-Learning

เดิม TCU ต้องการเป็นหน่วยงานกลางประสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเพื่อใช้ ICT ในการศึกษา

ทั่วโลกผู้เรียนแบบ E-Learning มีมากขึ้นและมากขึ้น ในขณะที่นักศึกษาเข้าสู่มหาวิทยาลัยของเราลดลง มีการแข่งขันด้วยคุณภาพ หลายหลักสูตรปิดไปเพราะไม่ตอบสนอง Competency ของคน มีการปรับหลักสูตร คิดอาชีพใหม่ เนื้อหาที่สอนมีการปรับ

TCU เซ็ตระบบกลาง มี Content กลาง มีการลงทุนสูง มีเนื้อหาที่เปิดฟรีสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ลดการลงทุนในเรื่องการสร้างทรัพยากร และช่วยกันถ่ายทอดเทคโนโลยี เช่น เรื่องของภาษาเป็นจุดอ่อนของนักศึกษาของเรา เราจะช่วยกันแก้อย่างไร

9:35 น.

ในหัวข้อแผนงานโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่งในอุดมศึกษาไทย ผศ.ดร. ฐาปนีย์ ธรรมเมธา ผู้อำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ผศ.ดร. อนุชัย รองผู้อำนวยการโครงการได้กล่าวถึงความคาดหวังต่อการประชุมครั้งนี้

หลังจากนั้นตัวแทนของแต่ละเครือข่ายได้นำเสนอสิ่งที่ได้ดำเนินการไป มี 6 เครือข่ายที่นำเสนอ และได้เป็นตัวแทนของเครือข่ายภาคใต้ตอนบนในการนำเสนอ เครือข่ายอื่นได้แก่ ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดร. ราเชนทร์ โกศัลวิตร รอง ผอ. ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ผศ. ดร. มรว. กัลยา ติคภัทิย์ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.จารุวรรณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รศงดร. ถนอมพร เลาหวิจิตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



และมีช่วงการประชุมร่วมของแต่ละเครือข่าย ในเครือข่ายภาคใต้ตอนบนได้มีข้อสรุปดังนี้

1. วันที่ 13-15 มิถุนายน 2554 จะมีการอบรมสำหรับผู้ผลิตสื่อ โดยทีมงานของ อ.บัณฑิต/TCU

2. วันที่ 27 -29 มิถุนายน 2554 จะมีการอบรมสำหรับอาจารย์ผู้สอนโดยใช้ e-Learning โดยทีมวิทยากร TCU ทั้งนี้จะจัดที่ภูเก็ต

ทั้งสองคอร์สจะรีบทำเอกสารส่งไปที่สถาบันโดยด่วน แต่ขอให้ผู้แทนแต่ละสถาบันกรุณาประสานงานในสถาบันไว้ก่่อน เพราะเรากำหนดค่อนข้างกระชั้น แต่ดำเนินการตามที่เราตกลงกันในที่ประชุมค่ะ

3. แนวคิดสำหรับการจัดการเครือข่ายปี 2555 เป็นแนวทางที่จะต้องยืนยันในที่ประชุมหรือติดต่อแจ้งกันอีกครั้งก่อนจะดำเนินการเพื่อขอการสนับสนุนจาก TCU (คาดว่าน่าจะเป็นช่วงเดือนมิถุนายน กรกฎาคม) โดยเราได้ประมาณการดำเนินการใน 3 เรื่องคือ

1. ดำเนินการกระจายสื่ออิเลกทรอนิกส์สู่ชุมชนและติดตามประเมินผล

2. จัดทำ content เพิ่มเติม เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในหัวข้อเรื่องที่ยกขึ้นเป็นตัวอย่างดังนี้

1) การจัดการภัยพิบัติ

2) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

3) การออกแบบผลิตภัณฑ์

4) เทคโนโลยีส่งเสริมการส่งออก (คอร์สแวร์สอนการทำ e-commerce ช่วยให้ผู้ประกอบการในชุมชน)

5) การอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น

6) การเพิ่มประสิทธิภาพทำยางแผ่น ( ทางวิทยาลัยชุมชนระนองเสนอเพิ่มขึ้นมา เพราะเป็นหลักสูตรที่มีเนื้อหาอยู่แล้ว และเมื่อทำแล้วจะได้ใช้ลงถึงชุมชนจริงๆ)

3. ดำเนินการพัฒนาบุคลากร เพื่อต่อยอด update technology และจัดหาคอมพิวเตอร์ที่

เหมาะสมกับการใช้งานผลิตสื่อ เช่น เครื่อง MAC, กล้อง

โดยในการขอการสนับสนุน ประมาณไว้ที่วงเงินหนึ่งล้านบาท เท่ากับที่ดำเนินการของปี 2554 นี้


รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม



ลำดับ

ชื่อ

สถาบัน

Email address

1

ผศ. พวงน้อย โลหะขจรพันธ์

วิทยาลัยภาคใต้

puangnoi@hotmail.com

2

นางสาวพวงรัตน์ จินพล

วิทยาลัยภาคใต้

mspuangrat@hotmail.com

3

นายธนิต สำลีวงค์

วิทยาลัยตาปี

tanit@tapee.ac.th

4

นายพงศ์ภน ปิติสุข

วิทยาลัยตาปี

pongpon@tapee.ac.th

5

นางสาวชริตา บุญเรือง

วิทยาลัยชุมชนระนอง

mam_achara@hotmail.com

6

นางสาวจันทรา บุญวิชัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Chantra_bun@hotmail.com

7

นางสาวประทุมพร วีระสุข

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Noo_preawa@hotmail.com

8

นางวิภาวรรณ บัวทอง

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

wipawanonline@yahoo.com

9

นายสมพร เรืองอ่อน

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

rsomporn@hotmail.com

10

นางสาวแน่งน้อย แสงเสน่ห์

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

saengsane@yahoo.co.th

11

นางจงสุข คงเสน

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

jongsuko@hotmail.com



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น